20130430

ชนิดของข้อมูล

ชนิดของข้อมูล
                การสร้างเขตข้อมูลในตารางจะต้องกำหนดชนิดของข้อมูลในเขตข้อมูล เขตข้อมูลในตารางของไมโครซอฟต์แอกเซส จะสามารถเก็บข้อมูลชนิดต่าง ๆ ดังรูป


 















จากรูป ข้อมูลที่สามารถเก็บในเขตข้อมูลของ MS Access 2003 มี 10 ชนิด ดังนี้
                1. text                      2.  Memo                                3.  Number                              4. Date/Time
                5. Currency             6. Autonumber                        7. Yes/No                               8. OLE Object
                9. Hyperlink            10. Lookup  Wizard
โดยข้อมูลแต่ละชนิดมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
               
Text   เป็นข้อมูลที่เป็นค่าปกติของเขตข้อมูล ถ้าไม่กำหนดเป็นชนิดอื่น ข้อมูลในเขตข้อมูลจะเป็น Text  คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือตัวอักษรผสมตัวเลข และตัวเลขที่ไม่ใช้ในการคำนวณ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ขนาดจำนวนตัวอักษรที่ใช้ได้ในเขตข้อมูลเท่ากับที่กำหนดใน Field Size  ซึ่งกำหนดได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร  โดยโปรแกรมจะนับจำนวนตัวอักษรเท่ามีจริงในเขตข้อมูลของระเบียนนั้น
                Memo หรือความจำ  เป็นข้อมูลแบบข้อความแบบยาว ที่ประกอบด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรกับตัวเลข(ที่ไม่ใช่ข้อมูลแบบไบนารี) จำนวนไม่เกิน 65535 ตัวอักษร ขนาดของเขตข้อมูลของข้อมูลชนิดนี้ขึ้นกับข้อความที่ป้อนเข้าไปโดยจะถูกจำกัดด้วยขนาดของฐานข้อมูล
                ข้อมูลประเภท Text และ Memo นั้นมี สัญลักษณ์ในการกำหนดคุณสมบัติด้านรูปแบบ หรือ Format Property ของข้อความทั้งสองแบบ ดังนี้
                   @  แทนตัวอักษร 1 ตัว หรือการเคาะแป้นวรรค 1 ครั้ง
     &  แทนตัวอักษร 1 ตัว ถ้าไม่ใส่จะเว้นว่างไว้
                     <   ทำให้ตัวอักษรภาษาอังกฤษทุกตัวในข้อความเป็นตัวพิมพ์เล็ก
 >    ทำให้ตัวอักษรภาษาอังกฤษทุกตัวในข้อความเป็นตัวพิมพ์ใหญ่
                โดยการกำหนดรูปแบบของข้อความนี้อาจแบ่งเป็น 2 ส่วน (คั่นด้วย เครื่องหมาย ; ) ส่วนแรกเป็นการกำหนดรูปแบบสำหรับข้อความ ส่วนที่สองเป็นการกำหนดสำหรับเมื่อข้อมูลที่ป้อนเป็น ข้อความที่เรียกว่าข้อความที่มีความยาวเป็น 0 (zero-length strings) ซึ่งคือข้อความที่ไม่มีตัวอักษร เวลาป้อนข้อความประเภทนี้ป้อน โดยการพิมพ์เครื่องหมาย “ 2 ตัวติดกันโดยไม่มีตัวอักษรใดและไม่มีการเคาะแป้นวรรค(space bar) กับข้อมูลประเภท Null ข้อมูลประเภท Null ป้อนโดยใช้ คำสั่งหรือคิวรี เพื่อบอกให้รู้ไม่มีค่าที่จะป้อนหรือว่าง  เช่น ในการกำหนดรูปแบบของข้อมูลในเขตข้อมูลว่า  @;”ไม่มีถ้ามีข้อมูลในเขตข้อมูล จะแสดงค่าข้อมูลนั้น แต่ถ้าเขตข้อมูลนั้นมีข้อมูลเป็น zero-length strings หรือมีข้อมูลเป็น Null จะแสดงผลออกมาเป็นคำว่า ไม่มี  ตัวอย่างของการกำหนดรูปแบบในช่อง Format และข้อมูลที่ป้อน และผลลัพธ์ที่แสดงออก ของข้อมูลประเภท Text  และ Memo เป็นดังตาราง

 Format property ของ Field
ข้อมูลในเขตข้อมูล
ผลลัพธ์ที่ได้
>@@@-@@-@@@@@
aBDeF12
-AB-DEF12

5jk-mn
-5J-K-MN
<@@-@-&
3ROBERTAM
3robert-a-m
>@-@@-&&;”จะไปรู้เรอะ
พวกdog
พว-กD-OG

ข้อมูล zero-length strings
จะไปรู้เรอะ

ข้อมูลที่มีค่าเป็น Null
จะไปรู้เรอะ

                Number หรือ ข้อมูลแบบตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณ มีหลายชนิดซึ่งกำหนดโดยใช้คุณสมบัติ Field Size หรือขนาดเขตข้อมูล ดังรูป


 















Byte เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลข 0 ถึง 255 ไม่มีทศนิยมหรือเศษส่วน ใช้หน่วยความจำ 1 byte
Integer เป็นเลขจำนวนเต็ม  จาก -32,768 ถึง 32,767 ใช้หน่วยความจำ 2 bytes
Long Integer เลขจำนวนเต็มอย่างยาว แทนจำนวนจาก –2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647 ใช้หน่วยความจำ 4 bytes
Single เป็นตัวเลขที่กำหนดหลังจุดทศนิยมได้ 7 ตำแหน่ง มีค่าระหว่าง –3.402823 x 1038  ถึง  –1.401298 x 10-45  เมื่อเป็นค่าลบ และระหว่าง 1.401298 x 10–45 ถึง 3.402823 x 1038  เมื่อเป็นค่าบวก  ค่านี้ใช้หน่วยความจำ 4 bytes
Double  เป็นตัวเลขที่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยมได้ถึง 15 ตำแหน่ง มีค่าอยู่ระหว่าง  –1.79769313486231x 10308  ถึง  –4.94065645841247 x 10–324  เมื่อเป็นค่าลบ  และอยู่ระหว่าง 4.94065645841247 x 10–324   ถึง 1.79769313486231 x 10308 เมื่อเป็นค่าบวก ใช้หน่วยความจำในการเก็บ 8 bytes
Decimal   ในไฟล์ .mdb ใช้เก็บตัวเลขที่มีค่า อยู่ระหว่าง  1028 – 1   ถึง  1028 – 1  ใช้ทศนิยมได้ถึง 28 ตำแหน่งใช้หน่วยความจำ 12 bytes
Replication ID  ใช้หน่วยความจำ 16 bytes

Date/Time  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ วันหรือเวลา ตั้งแต่ ค.ศ.100 ถึง ค.ศ.9999 โดยใช้หน่วยความจำ 8 bytes รูปแบบของวัน เวลา ที่แสดง มีวิธีการกำหนดวิธีหนึ่ง คือ กำหนดใน Format Property ของเขตข้อมูล โดยมีรูปแบบให้เลือก  ดังรูป (รูปแบบของ Long Date และ Short Date ขึ้นกับรูปแบบที่ตั้งไว้ใน Regional And Language ของ  Windows ว่าเป็น พ.ศ. หรือ ค.ศ. และมีรูปแบบอย่างไร)


 












                                ผู้สร้างตารางสามารถกำหนดรูปแบบเองได้ตามระบบที่กำหนด ดังนี้

รูปแบบ
ความหมาย
ตัวอย่าง
Gdddd
ชื่อวันในสัปดาห์
Sunday  อาทิตย์
ddd
คำย่อของวัน
Mon Tue Wed Thu Fri Sat Sun จ อ พ พฤ ศ ส อา
dd
ตัวเลขของวันที่ มี 0 นำหน้า
05 หรือ 26
d
ตัวเลขของวันที่
3 หรือ 24
ww
ลำดับที่ของสัปดาห์ในปี (1-53)
เช่น วันที่ 31 ธ.ค. มีค่าเป็น 53
w
ลำดับที่ของวันในสัปดาห์ (1 7 )
เช่น วันจันทร์  มีค่าเป็น 1 อาทิตย์มีค่าเป็น 7
mmmm
ชื่อเต็มของเดือนในปี
January  กุมภาพันธ์
mmm
คำย่อของชื่อเดือน
Jan Feb  ม.ค.  มิ.ย.
mm
ตัวเลขแทนชื่อเดือน (01 12)
02  หรือ 11
m
ตัวเลขแทนชื่อเดือน ( 1 12)
3 หรือ 12
yyyy
ตัวเลข พ.ศ. หรือ ค.ศ.
2549  2006
yy
ตัวเลข 2 หลักของปี
98  หรือ 49
y
ลำดับที่ของวันในปี (1 365 )
เช่น 1 ม.ค. คือ 1 หรือ 31 ธ.ค. คือ 365

ตัวอย่างเช่น กำหนด "วันนี้วัน  " Gdddd " ที " dd " เดือน " mmmm " พ.ศ. " yyyy " เป็นลำดับที่ " w " ของสัปดาห์ที่  " ww " ของปี และ เป็นวันลำดับที่ "  y " ของปี "  จะได้ผลลัพธ์ เป็น
วันนี้วัน  ศุกร์  ที่  08  เดือน  กันยายน  พ.ศ. 2549  เป็นลำดับที่  5 ของสัปดาห์ที่  37 ของปี และ เป็นวันลำดับที่ 251 ของปี เมื่อ ป้อน 8/9/2549

                Currency หรือ ข้อมูลตัวเลขทางการเงิน เป็นตัวเลขทางการเงิน และตัวเลขอื่น ๆ ที่นำไปคำนวณได้ สามารถ คำนวณได้ถูกต้องถึงตัวเลข 15 หลักหน้าทศนิยม และทศนิยม  4 ตำแหน่ง ใช้หน่วยความจำ 8 bytes
                AutoNumber  เป็นตัวเลขเรียงลำดับที่เฉพาะของตัวเลขที่กำหนด หรือ ตัวเลขที่โปรแกรมสุ่มขึ้นมาเมื่อมีระเบียนเพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มของตัวเลขนี้ปกติจะเพิ่มครั้งละ 1  หรือเพิ่มตามที่กำหนดในคุณสมบัติหรือproperty ชื่อ New Values  ตัวเลขนี้มีคุณสมบัติ Field Size 2 แบบ คือ  Long Integer ใช้หน่วยความจำ 4 bytes หรือ 16 bytes เมื่อใช้ เป็น Replication ID โดยค่าของ AutoNumber ของแต่ละระเบียนจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้ค่าแล้ว
                ข้อมูล Number และ Currency รวมทั้ง AutoNumber มีรูปแบบการแสดงผลที่กำหนดในช่อง Format property ของเขตข้อมูล เป็น ดังรูป


 



                ข้อมูลกลุ่ม Number และ Currency มีรูปแบบการแสดงผลที่ผู้ใช้สามารถกำหนดในช่อง Format property ดังนี้

                รูปแบบมีได้ตั้งแต่ 1 ถึง 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนคั่นด้วยเครื่องหมาย ; โดยแต่ละส่วนจะเป็นรูปแบบของตัวเลขแต่ละชนิด
                ส่วนที่ 1 เป็นรูปแบบของตัวเลขจำนวนบวก
                ส่วนที่ 2 เป็นรูปแบบของตัวเลขที่เป็นจำนวนลบ
ส่วนที่ 3 เป็นรูปแบบของค่าที่เป็น 0
ส่วนที่ 4 เป็นรูปแบบของค่าที่เป็น Null
ดังตัวอย่างรูปแบบของข้อมูลกลุ่ม Currency  กำหนดรูปแบบ  คือ
       $#,##0.00[Green];($#,##0.00)[Red];"Zero";"Null"
รูปแบบของตัวเลขจำนวนนี้ มีครบ 4 ส่วนแต่ละส่วนมีการกำหนดรูปแบบต่างกัน และ คั่นด้วย ;  การกำหนดรูปแบบตัวเลข
ใช้เครื่องหมาย ดังนี้
                    จุด . เป็นเครื่องหมายแสดงเลขทศนิยม (เครื่องหมายตรงกับที่ใช้ในวินโดวส์
                    คอมม่า คั่นระหว่างหลักร้อยกับหลักพัน(คั่นระหว่างเลขตัวที่ 3 กับ 4 ) เช่น 1,234,678
                    ศูนย์  0  เป็นตัวจองที่ให้ตัวเลข ว่าต้องแสดงที่ลำดับนั้น ถ้าไม่มีต้องแสดงเป็น 0
                    #  ใช้กำหนดหลักของตัวแรก แต่ถ้าไม่มีจะไม่แสดงเลข 0
                    $  แสดงเครื่องหมายเงิน ดอลล่าร์ ($) หรือ ฿ แสดงเครื่องหมายเงินบาท หรือ บาท แสดงคำว่า บาท
                    % กำหนดให้คูณด้วย 100 แล้วแสดงเครื่องหมาย %  เช่น 25 จะเป็น 2500%
                    E+  หรือ  e+ แสดงตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ แทนการคูณด้วย 10 ยกกำลัง ถ้ายกกำลังลบ จะเป็น 
- ยกกำลังบวกจะเป็น + เช่น 1.25 x 10-2 จะเป็น  1.25E-2  หรือ 1.25e-2
                    หมายเหตุ    ถ้ากำหนดจำนวนตำแหน่งหลังจุดทศนิยม ด้วย Decimal   Places   Property 
จะส่งผลให้จำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยม เป็นตาม Decimal  Places  Property ไม่เป็นตาม Format property  เช่น #,##0.00 “ บาท
 จะแสดงผลลัพธ์ เช่น 3,525.50 บาท แต่ถ้ากำหนดใน Decimal Places Property เป็น 4 จะได้ผลลัพธ์เป็น 3,525.5000 บาท

ข้อมูลแบบ Yes/No    เป็นข้อมูลที่มีค่าให้เลือก 1 ใน 2 ค่า คือ Yes หรือ No ข้อมูลนี้ใช้หน่วยความจำเพียง 1 bit มีการแสดงผลที่ให้เลือกใน Format property เพียง 3 อย่าง คือ  Yes/No  หรือ True/False  หรือ On/Off  หรือ กำหนดเอง โดยรูปแบบที่ตั้งไว้เป็น Yes/No  และค่าที่ตั้งไว้เป็น Yes หรือ True หรือ On  โดยรูปแบบที่กำหนดนี้เป็นเพียงรูปแบบที่จะนำไปแสดงในวัตถุควบคุม หรือ control object ที่เป็น text box เท่านั้น ส่วนการรับข้อมูลในเขตข้อมูลของตารางโปรแกรมใช้ control คือ check box เป็นตัวรับค่าของข้อมูลและข้อมูลจะเปลี่ยนไปตามค่าที่ check box  ได้รับมา รูปแบบการแสดงผลที่ผู้สร้างตารางกำหนดเอง แบ่งเป็น 3 ส่วน  คือ ส่วนแรกไม่มีผลอะไรเพียงต้องการเครื่องหมาย ; ไว้เพื่อจองตำแหน่งเท่านั้น ส่วนที่ 2 คือข้อความที่จะแสดงเมื่อข้อมูลเป็น Yes หรือ True หรือ On  ส่วนที่ 3 คือข้อความที่จะแสดงเมื่อข้อมูลเป็น No หรือ False หรือ Off  ดังเช่น กำหนดใน Format property ของข้อมูลแบบ Yes/No เป็น
          ;"Always"[Blue];"Never"[Red]
หมายความว่า ถ้าข้อมูลเป็น Yes หรือ True หรือ On จะมีการแสดงผลใน Text box เป็นคำว่า Always 
ตัวสีน้ำเงิน ถ้าข้อมูลเป็น No หรือ False หรือ Off จะมีการแสดงเป็นคำว่า Never ตัวสีแดงใน text box
 
                    ข้อมูลแบบเชื่อมต่อหรือฝัง (OLE Object)      เป็นข้อมูลประเภท Objects ต่าง ๆ เช่น แผ่นงานจากโปรแกรมตาราง
ทำงาน เอกสารจากโปรแกรมประมวลคำ กราฟิกต่าง ๆ ข้อมูลเสียง หรือข้อมูลไบนารี โดยการเชื่อมต่อทำได้ 2 แบบ คือ 
ทำสำเนาจากต้นฉบับมาไว้ในเขตข้อมูล หรือ เชื่อมโยงไปยังต้นฉบับของ Object โดยไม่ได้นำ Object มาไว้ในเขตข้อมูล  
 ข้อมูลประเภทนี้ใช้หน่วยความจำได้ถึง 1 gigabyte หรือขึ้นกับความจะของ disk
 
                    ข้อมูลแบบ Hyperlink   เป็นข้อความหรือข้อความรวมกับตัวเลขที่เก็บเป็นข้อความ และ
ใช้เป็นที่อยู่สำหรับการเชื่อมโยง(hyperlink address)   ที่อยู่นี้สามารถมีได้ถึง 3 ส่วน
                    ข้อความที่จะแสดง คือข้อความในเขตข้อมูล หรือ ใน control
                     ที่อยู่(address) คือ เส้นทางที่บอกที่อยู่ของไฟล์แบบ UNC (เช่น \\server\path\filename) 
หรือ page (เป็น URL เช่น http://www.bodin.ac.th/)
                     Subaddress  คือ ตำแหน่งในไฟล์หรือ page
                    Screentip  คือ ข้อความที่แสดงเป็น tooltip
                    วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้อนข้อมูล เก็บในเขตข้อมูลคือ ใช้คำสั่ง Hyperlink  ใน insert menu  
                    ข้อมูลแบบ hyperlink แต่ละส่วน บรรจุตัวอักษรได้ถึง 2048 ตัวอักษร
 
                    ข้อมูล Lookup wizard…    เป็นการสร้างเขตข้อมูลที่อนุญาตให้เลือกข้อมูลจากตารางอื่น หรือ จากรายการของข้อมูลโดยการใช้ list box หรือ combo box  การคลิกที่ตัวเลือกนี้(คือ การเลือกข้อมูล Lookup wizard…)จะเป็นการเริ่มต้น Lookup Wizard  ซึ่งจะสร้าง เขตข้อมูลแบบ lookup(lookup field คือ เขตข้อมูลที่ใช้บน form หรือ รายงาน ในฐานข้อมูลแบบ Access  เขตข้อมูลนี้จะแสดงรายการของข้อมูลที่ได้จากตารางหรือคิวรี หรือรายการของข้อมูลที่จัดเก็บไว้) เมื่อ lookup wizard จบการทำงาน Access จะกำหนดชนิดของข้อมูลซึ่งจะเป็นแบบใดขึ้นกับค่าที่เลือกในwizard    หน่วยความจำที่ใช้สำหรับเขตข้อมูลชนิดนี้เท่ากับเขตข้อมูลกุญแจหลักที่ใช้ในการทำการ lookup   แต่ปกติธรรมดาเขตข้อมูลนี้ใช้หน่วยความจำ  4 bytes

0 comments:

Post a Comment

 

Copyright © Access เบื้องต้น Design by Gu