20120723

Report รายงาน Access เบื้องต้น

0 comments
         หลังจากสร้างฐานข้อมูลและกำหนดการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำเป็นต้องนำ เสนอรายงานให้แก่ผู้บริหารหรือผู้ที่ต้องสารสนเทศเพื่อประโยชน์ต่างๆ การสร้างรายงานสามารถทำได้หลายลักษณะ แต่ที่จะแนะนำในที่นี้ เป็นการสร้างรายงานโดยใช้เครื่องช่วยสร้างหรือตัววิเศษ เป็นเครื่องมือที่สร้างความความสะดวกสะบายโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้อง มีความรู้มากมักก็สามารถทำได้แล้ว 
มีขั้นตอนการทำดังนี้


การสร้างรายงานด้วยตัววิเศษ


1.เลือกแท็บ Reports
2.คลิกที่ New

3.เลือก Report Wizard




4.เลือกตารางหรือคิวรี
5.คลิกที่ OK
 
6.เลือกฟิล์ดที่ต้องการ


7.คลิกที่ Next
8.คลิก Finsh
9.ลักษณะของรายงาน
ที่ได้ดังภาพ





Read more ►

กำหนดคิวรี Access เบื้องต้น

0 comments

เริ่มทำการคิวรี

จากที่กล่าวมาเกี่ยวกับประโยชน์ของการคิวรี เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นเรามา
เริ่มทำการคิวรีหรือสืบค้นข้อมูลกัน โดยขอแบ่งงานเป็นดังนี้

  1. สืบค้นรายชื่อนักเรียนที่ต้องการ
  2. สืบหาลำดับที่ของนักเรียนที่ต้องการ
  3. สืบค้นหาที่อยู่ที่ต้องการ
สืบค้นรายชื่อนักเรียนที่ต้องการ
1.กำหนดชื่อหรือคำสำคัญที่ต้อง เช่นต้องการค้นหาคนที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย”ไพ”
2.ในช่อง Column Fname ช่อง Critiria พิมพ์ชื่อ ไพ แล้วใช้โอเปอร์เรเตอร์ * ตามท้ายดังภาพ


3.เปลี่ยนมุมมองไปที่ตาราง
4.จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


สืบหาลำดับที่ของนักเรียนที่ต้องการ
1.กำหนดลำดับที่ต้องการเช่นต้องการหานักเรียนที่อยู่ระหว่างลำดับที่ 5-7
2.ในช่อง Column Student ID ช่อง Critiria กำหนดใช้โอเปอร์เรเตอร์ >5 And <7

3.เปลี่ยนมุมมองไปที่ตาราง 
4.จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


สืบค้นหาที่อยู่ที่ต้องการ
1.กำหนดที่อยู่ของนักเรียนที่ต้องการสืบค้น เช่นต้องหานักเรียนที่อยู่ “จังหวัดเชียงใหม่”
2.กำหนดการสืบค้น พิมพ์ว่า "เชียง*"


 
3.สวิตซ์ไปที่ตาราง 
4.จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ


Read more ►

การสร้าง Query Access เบื้องต้น

0 comments
การสร้างคิวรีใหม่
หลังจากที่เราได้ทราบเกี่ยวกับ Operator พอสังเขปแล้ว ตอนนี้มาเราทดลองสร้างคิวรีเพื่อการสืบค้นข้อมูลโดยใช้ Operator เป็นตัวช่วย การสร้างคอวรีทำดังนี้





การจัดเก็บคิวรี
เมื่อคิวรีได้ผลตามต้องการแล้ว จะต้องการจัดเก็บคิวรีนี้ไว้ใช้งานภายหลัง หากแม้มีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล คิวรีก็ยังคงทำงานตามเงื่อนไขเดิม การจัดเก็บคิวรีทำได้ดังนี้
1. เปิดเมนู File แล้วเลือก Save หลังจากนั้นจะปรากฎไดอะล็อกบ็อกช์ Save As



2. ตั้งชื่อคิวรี
3. คลิก OK

Read more ►

การใช้ Operator Access เบื้องต้น

0 comments
การใช้โอเปอเรเตอร์ในคิวรี
ในการกำหนดคิวรีข้อมูลหรือสืบค้นข้อมูล จำเป็นที่จะต้องกำหนดความต้องการในไปให้ชัดเจนเพื่อได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความหมายตรงต่อความต้องการ การใช้ Operator ช่วยในการสืบจะอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีรูปแบบโอเปอเรเตอร์ตามตารางดังนี้
โอเปอเรเตอร์ทางคณิตศาสตร์
โอเปอเรเตอร์
ทำหน้าที่
ตัวอย่าง
+
การบวก [เงินเดือน] + [โบนัส]
-
การลบ [รวมทั้งหมด] - [ภาษี]
-
เปลี่ยนเป็นค่าตรงข้าม - 12345
*
การคูณ [เงินเดือน] * 5
/
การหาร (ได้ค่าทศนิยม) [เงินเดือน] / 30
\
การหาร (ได้ค่าจำนวนเต็ม) [จำนวน] \ 12
Mod
หาค่าเศษจากการหาร [จำนวน] Mod 12
^
การยกกำลัง [จำนวน] ^ 2
โอเปอเรเตอร์สำหรับเปรียบเทียบ
โอเปอเรเตอร์
ทำหน้าที่
ตัวอย่าง
ผลที่ได้
<
น้อยกว่า 1234 < 1235 True
<=
น้อยกว่าหรือว่าเท่ากับ 123 <= 100 False
=
เท่ากับ 1 = 2 False
>=
มากกว่าหรือเท่ากับ 1234 >= 123 False
>
มากกว่า 1234 > 1000 True
<>
ไม่เท่ากับ 123 <> 456 True

โอเปอเรเตอร์ทางตรรกศาสตร์
โอเปอเรเตอร์
ทำหน้าที่
ตัวอย่าง
ผลที่ได้
And ให้ค่าจริงเมื่อเป็นจริงทั้ง 2 ค่า True And True
True And False
True
False
Or ให้ค่าจริงเมื่อค่าใดค่าหนึ่งเป็นจริง True Or False
False Or False
True
False
Not กลับเป็นค่าตรงข้าม Not True
Not False
False
True
Xor ให้ค่าจริงเมื่อมีค่าจริงเพียง 1 ค่า True XOr False
True XOr True
True
False
Eqv ให้ค่าจริงเมื่อเป็นจริงทั้งคู่ หรือเป็นเท็จทั้งคู่ True Eqv True
False Eqv False
True Eqv False
True
True
False
โอเปอเรเตอร์อื่น ๆ
โอเปอเรเตอร์
ทำหน้าที่
ตัวอย่าง
Is ใช้ร่วมกับ Null เพื่อพิจารณาว่าเป็น Null หรือ Not Null Is Null
Is Not Null
Like ใช้ร่วมกับ Wildcard (ตาราง 27.6) เพื่อกำหนดการใช้ตัวอักษรที่เริ่มต้น Like “A*” (ขึ้นต้นด้วย A)
In ใช้พิจารณาตัวอักษรว่าอยู่ในลิสต์หรือไม่ In (“BANGKOK” , “PRA” , “PATHUM”)
Between ใช้พิจารณาตัวอักษรที่อยู่ในขอบเขตของค่า Between 1 and 10
Read more ►

การคิวรี (Query) Access เบื้องต้น

0 comments

คิวรี

ในส่วนที่ผ่านมาคุณได้รู้จักการสร้างและจัดเก็บข้อมูลลงในเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่มีอยู่อาจจะ
มีมากมายหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นเรกคอร์ด ในการนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องดูข้อมูลทั้งหมด เพิ่อสะดวกแก่การเรียกดูเฉพาะข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น สามารถทำได้โดยใช้วิธีการคิวรี (Query) ซึ่งคุณสมบัติของคิวรีมีดังนี้
    • แสดงเรกคอร์ดที่ตรงตามเงื่อนไข
    • แสดงผลข้อมูลจากตารางในรูปแบบใหม่โดยเลือกเพียงบางฟิลด์
แสดงข้อมูลจากหลายตาราง
มุมมองของคิวรี
การใช้งานคิวรีจะคล้ายกับการใช้ตารางคือจะมีมุมมองสำหรับการออกแบบ , มุมมองที่แสดงผลข้อมูล และยังมีมุมมองสำหรับแสดงค่ำสั่งแบบ SQL ได้อีกด้วย
มุมมองของคิวรี
การใช้งานคิวรีจะคล้ายกับการใช้ตารางคือจะมีมุมมองสำหรับการออกแบบ , มุมมองที่แสดงผลข้อมูล และยังมีมุมมองสำหรับแสดงค่ำสั่งแบบ SQL ได้อีกด้วย
    1. มุมมองดีไซน์ (design View) ให้คุณใส่เงื่อนไขหรือกฏเกณฑ์เพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการจากตารางต่าง ๆ
    2.  
    3. มุมมองดาต้าชีต (Datasheet View) แสดงผลการเลือกข้อมูลที่ได้จากเงื่อนไขหรือกฏเกณฑ์จากมุมมองดีไซน์
    4.  
    5. มุมมอง SQL (SQL View) แสดงคำสั่งในรูปแบบของภาษา SQL ตามเงื่อนไขในมุมมองดีไซน์

การสวิตซ์ระหว่างมุมมอง
มุมมองทั้ง 3 นั้นมีประโยชน์และการใช้งานที่แตกต่างกัน คุณสามารถสวิตซ์ ไปมาระหว่างมุมมองเพื่อความรวดเร็วในการทำงาน การสวิตซ์ระหว่างมุมมองมีดังนี้
  1. เลือกเมนู View 
  2. แล้วเลือกมุมมองที่ต้องการ Design View หรือ SQL View
                  
Read more ►

การสร้างตาราง Access เบื้องต้น

0 comments

การสร้างตารางด้วยตัววิเศษ

ในการสร้างตารางจำเป็นต้องกำหนดชื่อฟิลด์ , ประเภทฟิลด์ด้วยเอง อาจจะทำให้เสียเวลา หากถ้าคุณใช้ตัววิเศษในการสร้างตารางที่เรียกว่า Table Wizard ก็จะสามารถทำสร้างตารางได้ง่ายขึ้น เพราะตัววิเศษจะแสดงฟิลด์และกลุ่มฟิลด์ให้เลือก เพียงใส่ข้อมูลเพิ่มเติมแล็กน้อย ก็จะได้ตารางที่สมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว มีวิธีการสร้างดังนี้
        
     
                               
การจัดเก็บตาราง
เมื่อสร้างตารางเรียบร้อยแล้วจำเป็นต้องจัดเก็บตาราง เพื่อสะดวกแก่การเรียกดูข้อมูลในคราวต่อไป หลังจากนั้นจึงใส่ข้อมูลลงในตารางได้ การจัดเก็บตารางสามารถทำได้ดังนี้
Read more ►

การสร้างฐานข้อมูลใหม่ Access เบื้องต้น

0 comments
    ในการใช้งาน Access คุณจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลก่อน ถ้ายังไม่มีฐานข้อมูล คุณอาจจะเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลก่อน ในการสร้างฐานข้อมูลมี 2 กรณี คือการสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวเองและการสร้างฐานข้อมูลจากตัววิเศษ
การสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวเอง

การสร้างฐานข้อมูลด้วยวิธีนี้ คุณเป็นผู้กำหนดออปเจกต์ในฐานข้อมูลทั้งหมดทั้งตาราง , คิวรี , ฟอร์ม , รายงาน หรือแม้แต่มาโคร ถึงแม้จะค่อนข้างยากแต่คุณจะได้ฐานข้อมูลที่ตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุด การสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวเองทำได้ 2 วิธีดังนี้
การสร้างฐานข้อมูลจากตัววิเศษ
จากขั้นตอนที่ผ่านมาเป็นการสร้างฐานข้อมูลด้วยตัวเอง ต่อไปนี้จะแนะนำการสร้างฐานข้อมูลด้วยตัววิเศษ การสร้างฐานข้อมูลด้วยตัววิเศษทำได้ดังนี้
 1.เปิดเมนู File แล้วเลือก New Database

    

Read more ►

ส่วนประกอบของ Microsoft Access

0 comments
เมื่อคุณสร้างฐานข้อมูลหรือเปิดฐานข้อมูลที่มีอยู่เรียบร้อยแล้ว คุณก็จะเห็นส่วนประกอบวินโดว์ของ Microsoft Access ดังรูป
องค์ประกอบฐานข้อมูลใน Access
ฐานข้อมูลใน Access มีองค์ประกอบ 6 ประเภทดังนี้
ตาราง (Table)
ตาราง (Table) คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลทั้งหมดที่คุณใส่ลงไปซึ่งจะมีมาก
เพียงใดก็ได้ โดยกำหนดแต่ละคอลัมน์เป็นฟิลด์ และแต่ละแถวเป็นเรกคอร์ด ตารางจะเป็นลักษณะ ดังรูป
คิวรี (Query)
คิวรี (Query) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการค้นหาตามเงื่อนไขที่กำหนดมาจากตารางหลาย
ตาราง แล้วนำมาแสดงในตารางคิวรี ซึ่งจะเป็นประโยชน์เพราะสามารถนำเฉพาะข้อมูลที่ต้องการมาใช้เท่านั้นที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่สนใจ รูปแสดงคิวรีเพื่อเลือกข้อมูลจากตารางเป็นดังรูป
ฟอร์ม (Form)
ฟอร์ม (Form)เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการเรกคอร์ดในตารางหรือคิวรี โดยนำมาแสดงผลให้ดูสวยงามและใช้งานง่าย และคุณยังสามารถลบเรกคอร์ด , เพิ่มเรกคอร์ด รวมทั้งข้อมูลที่เป็นออปเจกต์ เช่น รูปภาพ เป็นต้น ลักษณะของฟอร์มจะเป็นดังรูป
รายงาน (Report)
รายงาน (Report) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่จัดการเรกคอร์ดซึ่งจะสรุปผลเป็นรายงานที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ลักษณะของรายงานจะเป็นดังรูป
มาโคร (Macro)
มาโคร (Macro) เป็นชุดของคำสั่งที่ทำงานเป็นขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้การทำงานถูกต้องและแม่นยำ รวมทั้งยังเพิ่มความเร็วในการทำงานอีกด้วย คำสั่งของมาโครอาจจะเป็นดังรูป
โมดูล (Module)
โมดูล (Module) เป็นส่วนที่ให้คุณเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Access Basic เพื่อออกแบบการทำงานตามที่คุณต้องการโดยใช้โมดูลคีย์ต่าง ๆ
Read more ►

ตาราง

0 comments

ตาราง

ตาราง (Table) เป็นออปเจกต์พื้นฐานข้อมูล เนื่องจากตารางเป็นออปเจกต์ที่เก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลเบื้องต้น ดังนั้นในฐานข้อมูลจะต้องมีตารางเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลทั่วไป ตารางก็คือไฟล์ของฐานข้อมูล (Database File) นั่นเอง และเนื่องจาก Microsoft Access เป็นฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์ คุณสามารถเชื่อมโยงตารางต่าง ๆ ในฐานข้อมูลได้ โดยการเชื่อมโยงจะเป็นแบบกราฟิก (Graphical Relationship) ตารางของ Access ใช้คอลัมน์เป็นฟิลด์ และแต่ละแถวเป็นเรกคอร์ด
มุมมองของตาราง
เมื่อคุณเลือกออปเจกต์ที่เป็นตาราง แล้วเลือก Open หรือ Design จะเข้าสู่วินโดว์ของเทเบิล (Table Window) ซึ่งมี 2 มุมมองคือ
    • มุมมองดีไซน์ (Design View) สำหรับการออกแบบโครงสร้างของตารางเพื่อกำหนดคุณสมบัติ เช่น ชื่อฟิลด์ , ประเภทฟิล์ด เป็นต้น
    • มุมมองดาต้าชีต (Datasheet View) สำหรับการใส่ข้อมูลในตารางตามฟิล์ดที่คุณกำหนด
การสวิตซ์ระหว่างมุมมอง
แต่ละมุมมองจะมีประโยชน์ต่างกัน เช่น ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนโครงสร้างหรือคุณสมบัติ
ของตารางก็ใช้มุมมองดีไซน์ หรือถ้าคุณต้องการใส่ข้อมูลในตารางก็ใช้มุมมองดาต้าชีต คุณจึงอาจจะต้องการสวิตซ์ระหว่างมุมมองซึ่งทำได้ดังนี้
Read more ►

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับMicrosoft Access

0 comments

เนื่อง จากโปรเจควิชาดาต้าเบส อาจารย์ได้บอกให้มีการทำดาต้าเบสด้วยMicrosoft  Access ซึ่งเพื่อนบางคนไม่เคยใช้ ก็เลยทำไม่เป็น แต่พอดีเราเคยได้ลองๆใช้มันมาบ้าง ก็เลยจะมาแชร์ความรู้ที่ได้เรียน ได้เคยใช้มันมาให้เพื่อนๆค่ะ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  Microsoft  Access
          Microsoft Office Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันอ่างแพร่หลาย  เนื่องจาก  Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีความสามารถในหลาย ๆ ด้าน  ใช้งานง่าย  ซึ่งผู้ใช้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่การออกแบบฐานข้อมูลจัดเก็บข้อมูล  เขียนโปรแกรมควบคุม  ตลอดจนการทำรายงานแสดงผลของข้อมูล
          Access  2003  เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ใช้ง่าย  โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมก็สามารถใช้งานได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดในการเขียนโปรแกรมให้ยุ่งยาก  และสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพนั้น  Access  2003  ยับตอบสนองความต้องการในระดับที่สูงขึ้นไปอีกเช่น  การเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่น ๆ เช่น  SQL ERVER,ORACLE  หรือแม้แต่การนำข้อมูลออกสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Access  2003  สามารถช่วยเราทำอะไรได้บ้าง
          สามารถสร้างระบบฐานข้อมูลใช้งานต่าง ๆ ได้โดยง่าย  เช่น  โปรแกรมบัญชีรายรับ  รายจ่าย,  โปรแกรมควบคุมสินค้า,  โปรแกรมฐานข้อมูลอื่น ๆ  เป็นต้น  ซึ่งสามารถทำได้โดยง่านเพราะ  Access  2003  มีเครื่องมือต่าง ๆ ให้ใช้ในการสร้างโปรแกรมได้โดยง่าย  และรวดเร็ว
          โปรแกรมที่สร้างขึ้นสามารถตอบสนองผู้ใช้ได้ตามต้องการ  เช่น  การสอบถามยอดสินค้า,  การเพิ่มสินค้า,  การลบสินค้า,  การแก้ไขข้อมูลสินค้า  เป็นต้น
          สามารถสร้างรายงานเพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ  ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ
          สามารถสร้างระบบฐานข้อมูล  เพื่อนำไปใช้ร่วมกับฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยง่าย  เช่น  SQL ERVER ORACLE  ได้
          สามารถนำเสนอข้อมูลออกสู่ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ก็สามารถทำได้โดยง่าย  และอีกมากมายในระบบฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานต้องการ

ความต้องการพื้นฐานในการติดตั้งโปรแกรม  Microsoft  Access  2003
          แต่ก่อนที่จะทำการติดตั้งโปรแกรม  เราควรทำการสำรวจความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมเพียงพอสามารถ ใช้งาน  Microsoft  Office  Access  2003  ได้มีดังนี้
          1.   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วอย่างต่ำ  233  MHz  หรือ  Pentium  III  ขึ้นไป
          2.  ควรมีหน่วยความจำ  ( RAM )  64  MB  ขึ้นไป  แต่แนะนำว่าควรเป็น  128  MB  ขึ้นไป
               เป็นอย่างต่ำ
          3.  ระบบปฏิบัติการขั้นต่ำควรเป็น  Microsoft Windows 2000 with Service Pack 3 หรือ
               Windows XP
          4.  ฮาร์ดดิสก์ถ้าทำการติดตั้ง  Microsoft Office 2003  ทั้งหมด  ฮาร์ดดิสก์ควรจะมีพื้นที่ว่าง
MB  ขึ้นไป  แต่ถ้าติดตั้งเพียง  Microsoft Office  Access  ฮาร์ดดิสก์ควรมีพื้นที่ว่าง
      425  MB  ขึ้นไป

วิธีเปิดฐานข้อมูลในMS Accessเบื้องต้น

การเปิดแฟ้มฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้งาน
         ถ้าคุณได้สร้างฐานข้อมูลไว้เรียบร้อยแล้ว  คุณสามารถเปิดแฟ้มฐานข้อมูลเก่าที่มีอยู่แล้ว  ขึ้นมาใช้งานได้ 
มีวิธีการดังนี้
1. คลิกแฟ้ม   >    เปิด   จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์เปิด
2. ในกล่องมองหาในคลิกที่ปุ่ม  เพื่อคลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์  
3. คลิกแฟ้มฐานข้อมูลที่ต้องการเปิด
4. คลิกปุ่ม  โปรแกรมMicrosoftAccessจะทำการเปิดแฟ้มฐานข้อมูลให้ทันทีหรือคลิกที่แล้วเลือก
ลักษณะที่ต้องการเปิดเช่นเปิดเพื่ออ่านอย่างเดียว สำหรับเปิดแฟ้มฐานข้อมูลเพื่ออ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถบันทึกได้
การปิดแฟ้มฐานข้อมูล
                เมื่อคุณต้องการปิดฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่  คุณสามารถทำได้ดังนี้
1. คลิก  แฟ้ม >> ปิด
การปิดโปรแกรม  Microsoft  Access
                เมื่อคุณทำงานเกี่ยวกับแฟ้มฐานข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณต้องบันทึก แล้วปิดแฟ้มฐานข้อมูลที่คุณเปิดอยู่
      ทุก ๆ แฟ้มให้หมดก่อน  แล้วจึงทำการปิดโปรแกรม  Microsoft Access  ด้วยวิธีการดังนี้
      วิธีที่ 1  คลิกเมนูแฟ้ม >> จบการทำงาน
วิธีที่  2  คลิกขวาที่ title bar  ของโปรแกรม  แล้วเลือก  Close
Read more ►

ระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น ตอนที่ 1

0 comments


databaseอย่าง ที่ท่านทราบ โปรแกรม MS Office Access นั้นเป็นโปรแกรมที่เอาไว้ใช้จัดการฐานข้อมูล ซึ่งก่อนที่เราจะเริ่มใช้โปรแกรมผมแนะนำว่าท่านต้องควรต้องศึกษา เรื่องระบบฐานข้อมูลเบี้ยงต้นกันซะก่อน
ถ้าหากท่าน เข้า google พิมพ์หาคำว่า “ระบบฐานข้อมูล เบื้่องต้น” ท่านก็จะพบกับ website ที่ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ระบบฐานข้อมูลมากมาย เช่น



และอีกมากมาย บลา ๆ ๆ ๆ ขนาดผมเองยังตาลาย คิดว่าท่านผู้อ่าน ก็คงรู้สึกเบื่อและไม่ชอบศึกษาเรื่องระบบฐานข้อมูลเหมือนกัน แต่ถึงแม้ว่าจะน่าเบื่ออย่างไร เราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเรียนรู้มัน เพราะมันคือพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ที่ท่านต้องรู้ก่อนจะเริ่มใช้งานโปรแกรม แต่ถ้าหากท่านคิดว่าท่านมีความเข้าใจเรื่องระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว ท่านสามารถผ่านไปหัวข้อถัดไปได้เลยครับ (ไม่ต้องไปอ่านตอนที่ 2 ต่อ)
ถ้าหากท่านอยากได้ความรู้พื้นฐานเรื่องระบบฐานข้อมูลแบบละเอียด(ยิบ)ครบ ถ้วนและท่านขยันอ่าน ขอให้เข้าไปที่ 4 เว็บไซด์ข้างต้นเลยครับ ผมสำรวจมาให้หมดแล้ว ครบถ้วนแน่นอนและง่วงนอนด้วย หากท่านนั่งอ่านทีเดียวจนหมด
พล่ามมาก็นาน ผมก็แค่จะบอกว่า เดี๋ยวผมจะสรุปเรื่องระบบฐานข้อมูลให้ท่านฟังเอาแค่ที่ท่านจำเป็นต้องรู้ แต่ถ้าใครอ่านรอบเดียวแล้วเข้าใจเลยนั้นก็สุดยอดมาก เพราะขนาดผมเรียนเรื่องนี้อย่างเดียวยังใช้เวลาตั้ง 1 เทอมเต็ม ๆ หากท่านพร้อมแล้ว เข้าสู่ตอนที่ 2 ได้เลยครับ
Read more ►

ระบบฐานข้อมูลเบี้องต้น ตอนที่ 3 E-R Model

0 comments
และแล้วก็ก็มาถึงเรื่องชวนปวดหัวของใครหลายคน นั้นก็คือ E-R Model (Entity Relationship Model) แต่จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เพราะมันคือเครื่องมือที่ช่วยให้จินตนาการ หรือ ออกแบบระบบฐานข้อมูลได้ง่ายที่สุดแล้วล่ะครับ
อย่างที่พูดผมไปตั้งแต่ตอนที่ 1 ถ้าหากลากยาวอธิบายจนครบถ้วน ท่านคงหลับคาคอมพิวเตอร์แน่ ๆ ผมจะสรุปแต่ที่ท่านควรรู้ เป็นตัวอย่างให้ดูก็แล้วกันนะครับ
เมื่อกล่าวถึง Entity Relationship Model แปลตรงตัวก็คือ โมเดลความสัมพันธ์ระหว่าง Entity แล้วเจ้า Entity คืออะไร บางคนบอกชื่อแปลก ๆ ไม่เคยได้ยิน เอางี้ครับ จำง่าย ๆ ตามผม Entity ก็คือตารางหรือก็คือฐานข้อมูล ที่พูดถึงไปในตอนที่แล้ว ขอยกตัวอย่างจากรูปของตอนที่แล้วมา ให้ดูนะครับ

จากรูป ที่เป็นสีเขียวทั้งหมดของตารางนั่นแหละครับคือ Entity ซึ่ง Entity ประกอบสองส่วนคือด้วย Attribute(จำง่าย ๆ คือคอลัมน์ของตาราง) และข้อมูล (ข้อมูล 1 แถวก็คือ 1 record) สรุปง่าย ๆ แค่นี้ก่อน เจาะลึกเดี๋ยวจะงง ต่อไปถ้าผมพูดถึง Entity ให้ท่านนึกถึงภาพตารางด้านบนนี้ไว้นะครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั่นคือ 1 Entity
ต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity หมายถึง Entity 2 Entity ขั้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน แบ่งชนิดความสัมพันธ์ออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. One-to-Many เป็นความสัมพันธ์ปรกติของระบบฐานข้อมูลครับครับ กล่าวคือ 1 record ของ Entity(ตาราง)หนึ่ง จะสัมพันธ์ กับ หลาย record ของอีก Entity(ตาราง)หนึ่ง เช่น Entityพนักงาน กับ Entityแผนก นึกภาพตามง่าย ๆ ครับ 1 แผนก สามารถมีพนักงานสังกัดได้หลายคน พนักงาน 1 คนสามารถสังกัดแผนกได้ 1 แผนก ดังตัวอย่างด้านล่าง


2. One-to-One คือ Entity หนึ่งจะมีความสัมพันธ์ กับอีก Entity หนึ่ง แบบ record ต่อ record(Entity ฃหลัก 1 record สามารถสัมพันธ์กับ Entityย่อย เพียง 1 record เท่านั้น) ลองนึกภาพตามผมนะครับ เรามีระบบอยู่ 2 ระบบในบริษัท ซึ่งสร้างฟอร์ม log-in ขึ้นมา 2 หน้า แต่ใช้ฐานข้อมูลพนักงานร่วมกัน เช่น ระบบจัดซื้อ(ของแผนกจัดซื้อ) และ ระบบซ่อมจักร(แผนกช่างจักร)
วิธีที่ง่ายที่สุด คือเราสร้าง Entity สำหรับ log-in ขึ้นมา 2 ตาราง สำหรับ 2 ระบบ ซึ่ง พนักงาน 1 คน จะสามารถ มีได้ 1 account ต่อ 1 ระบบดังรูปตัวอย่าง (ตอนนี้รู้แค่ว่า Access สามารถสร้างฟอร์มให้ Login เข้าระบบได้ แค่นั้นก่อนนะครับ ส่วนวิธีการผมจะทำเป็น workshop ให้ดูในภายหลังคร้ับ)
ถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ง่าย แต่ไม่นิยมเท่าใหร่ ส่วนใหญ่หากมี 2 Entity ที่มีความสัมพันธ์เป็นแบบ one-to-one เราจะนิยมรวมทั้ง 2 Entity เป็น 1 Entity แบบนี้







จากรูปด้านบน หมายถึงเราตัองแน่ใจว่า 1 คนสามารถเข้าระบบได้เพียงระบบเดียวเท่านั้น เช่น นาย 111 เข้าได้แต่ระบบจัดซื้อ หรือ นาย 444 เข้าได้แต่ระบบซ่อมจักร
แต่ในกรณีพิเศษที่เราไม่มั่นใจว่าพนักงาน 1 คนจะสามารถเข้าได้หลายระบบหรือเปล่า เราสามารถออกแบบความสัมพันธ์ ของ Entity เป็น one-to-many ได้ดังรูป (ใช้ฟิลด์ ระบบ เป็นตัวระบุว่าเป็น account ของระบบไหน)
ซึ่งเราจะออกแบบระบบให้เป็นแบบไหนก็ได้ครับ ไม่ผิดทั้ง 3 แบบ ใช้งานได้เหมือนกัน แต่เราต้องดูความเหมาะสมเอาครับ

3. Many-to-Many หมายถึง Entityที่หนึ่ง มีความสัมพันธ์กับ Entityที่สอง หลาย record ในขณะที่ Entityที่สองก็มีความสัมพันธ์กับ Entityที่หนึ่ง แบบหลาย record เช่นกัน โดยส่วนตัวแล้วเจอบ่อย  ๆ ครับความพันธ์แบบนี้ เช่น
  • Entityสินค้า กับ Entityใบสั่งซื้อ (สินค้าชนิดหนึ่งสามารถถูกซื้อด้วยใบสั่งซื้อหลายใบ และใบสั่งซื้อใบหนึ่งสามารถสั่งซื้อสินค้าได้หลายชนิด)
  • Entityยา กับ Entityใบเบิกยา (ยาชนิดหนึ่งเบิกด้วยใบได้หลายใบ และใบเบิกยาใบหนึ่งสามารถเบิกยาได้หลายชนิด)
  • Entityหนังสือ กับ Entityสมาชิก(หนังสือหนึ่งเล่มสามารถมีสมาชิกยืมได้หลายคน(ยืมแล้วคืน) และสมาชิกหนึ่งคนสามารถยืมหนังสือได้หลายเล่ม)
ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างแบบ Many-to-Many เรานึกภาพได้เขียนได้ แต่เอาไปสร้างฐานข้อมูลไม่ได้ครับ จำเป็นต้องแปลงให้เป็นให้อยู่ในรูป One-to-Many ก่อน ถึงตรงนี้หลายคนอาจจะงงว่าจะแปลงได้อย่างไร ขอให้ศึกษาภาพตัวอย่างด้านล่างนี้นะครับ

จากรูปตัวอย่างด้านบน Entityสินค้ัา มีความสัมพันธ์กับ Entityใบสั่งซื้อ แบบ Many-to-Many แต่เราสามารถแปลง ความสำพันธ์แบบ One-to-Many ได้โดยสร้างตาราง รายละเอียดใบสั่งซื้อ เพื่อเชื่อมทั้ง 2 ตาราง ดัีงรูป
ซึ่งความสัมพันธ์ของ Entity แบบ Many-to-Many นั้น มักจบด้วยการสร้าง Entity มาคั่นเพื่อแปลงความสัมพันธ์ ให้กลายเป็นแบบ One-to-Many เสมอ

จบแล้วครับสำหรับตอนที่ 3 ทำรูปกันซะเหนื่อยทีเดียว โปรดติดตามตอนต่อไป ตอนที่ 4 ในชื่อตอนว่า E-R Diagram ครับผม

Read more ►
 

Copyright © Access เบื้องต้น Design by Gu