20110525

การออกแบบฟอร์ม

การออกแบบฟอร์ม

การออกแบบฟอร์ม ต้องคำนึงถึงตัว Control และคุณลักษณะของฟอร์มในการประยุกต์ที่สอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานของผู้ใช้
ตัว Control เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการแสดงผลข้อมูลของฟอร์มคล้ายกับฟิลด์ใน Table แต่มีขอบเขตบาง ประการที่ต่างกัน โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
  1. ตัว Control แบบ Bound เป็นตัว Control ที่มีฟิลด์จาก Table หรือคิวรี่เป็นแหล่งข้อมูล
  2. ตัว Control แบบ Unbound เป็นตัว Control ที่ไม่มีแหล่งข้อมูล แต่จะดึงค่าของฟิลด์มาใช้
  3. ตัว Control แบบ คำนวณ เป็นตัว Control ที่สร้างจากนิพจน์

ส่วน (Section)

ส่วน (Section) เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของฟอร์มในการใช้งาน
  • ฟอร์มส่วนหัวและส่วนล่าง (Form Header/Footer) จะปรากฏบนจอภาพตลอดเวลา ดังนั้นมักจะใช้แสดงชื่อของฟอร์ม ปุ่มคำสั่ง และการหาผลรวมของกลุ่มเรคคอร์ดภายในฟอร์ม เช่น ผลรวมของเรคคอร์ดของฟอร์มย่อยในฟอร์มหลัก หรือผลรวมของเรคคอร์ดทั้งหมดแบบฟอร์มต่อเนื่อง
  • ส่วนรายละเอียด (Detail) ใช้แสดงข้อมูลแต่ละเรคคอร์ด
  • หน้าส่วนหัวและส่วนล่าง (Page Header/Footer) ไม่ปรากฏบนจอภาพ แต่จะปรากฏเมื่อมีการสั่งพิมพ์ ทาง Printer หรือการ Preview เท่านั้น จึงใช้เป็นหัวกระดาษเมื่อมีการสั่งพิมพ์

การกำหนดคุณสมบัติ

การกำหนดคุณสมบัติเป็นแนวคิดแบบ Object oriented programming โดยสามารถกำหนดค่าคุณสมบัติให้กับตัว Control และฟอร์มได้ ในกรณีตัว Control จะมีค่าคุณสมบัติเริ่มต้นจากฟิลด์ ในการแสดงค่า แต่สามารถกำหนดเป็นค่าเฉพาะภายในฟอร์มให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยมีกลุ่มคุณสมบัติ ดังนี้
  1. กำหนดลักษณะข้อมูล และควบคุมค่าที่ป้อน
  2. เป็นการใช้ Event ควบคุมโดยทำงานร่วมกันมาโคร หรือ Sub Procedure เช่น เมื่อมีการป้อนค่าแล้ว
  3. กำหนดรูปแบบการแสดงผล เช่น จำนวนทศนิยม ตัวอักษร รูปแบบต่างๆ
  4. กำหนดค่าคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ชื่อตัว Control ข้อความที่แถบบอกสถานะ

การเจาะจงฟอร์ม

การเจาะจงฟอร์ม เป็นการควบคุมการป้อนข้อมูล การดูข้อมูลที่ต้องการ และการอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งส่วนที่สำคัญดังนี้
1. ป้องกันความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล มีเครื่องมือคือ Combo Box และ List Box โดยที่ Combo Box หรือ List box เป็นการแสดงรายการข้อมูลสำหรับการเลือก
วิธีการสร้างรายการของ Combo Box
  • สร้างรายการจากฟิลด์ใน Table หรือคิวรี่
  • สร้างรายการโดยใช้คำสั่ง SELECT ของภาษา SQL
  • สร้างรายการโดยใช้ฟังก์ชัน ของ Visual Basic
  • สร้างรายการโดยการกำหนดค่า (Value List)
2. การอำนวยความสะดวกในการทำงาน สามารถสร้างปุ่มคำสั่งที่ทำงานร่วมกับ Event เช่น การคลิกปุ่มคำสั่งเปิดฟอร์มเพื่อ แสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง หรือการพิมพ์รายงาน เป็นต้น

0 comments:

Post a Comment

 

Copyright © Access เบื้องต้น Design by Gu