Pages - Menu

20110606

เครื่องหมายเปรียบเทียบ (comparison operator)

SQL เป็นภาษามาตรฐานสำหรับฐานข้อมูล Relational Database Management System (RDBMS) ตามมาตรฐานของ ANSI (American National Standard Institute) SQL (ออกเสียงว่า "ess-que-el" หรือ "ซี-เคลว") ย่อมาจาก Structured Query Language คิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ของ IBM ในทศวรรษ 1970 ในปัจจุบัน ANSI (American National Standard Institute) ได้ประกาศให้ SQL เป็น ภาษามาตรฐานสำหรับระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System ย่อเป็น RDBMS) ระบบฐานข้อมูลในปัจจุบันเกือบทั้งหมด เป็นแบบระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS) เช่น Oracle, Sybase, Microsoft SQL Server, Microsoft Access, DB2 ของ IBM เป็นต้น ถึงแม้ว่า ฐานข้อมูลแบบ RDBMS ทุกระบบ จะสามารถใช้คำสั่งพื้นฐานของ SQL เหมือนกัน แต่ทุกระบบอาจจะมีคำสั่งพิเศษของตัวเองที่ ระบบอื่นอาจจะใช้ไม่ได้

SELECT STATEMENT : คำสั่งที่ใช้ในการสร้างแบบสอบถาม

ประโยคคำสั่ง SELECT ใช้ในการสร้างคิวรี่ หรือการสอบถามกับฐานข้อมูล และเลือกดึงข้อมูลที่ตรงกับเกณฑ์ที่กำหนด

ไวยากรณ์ ประโยคคำสั่ง SELECT
SELECT [ALL | DISTINCT] column1[,column2]
FROM table1[,table2]
[WHERE conditions]
[GROUP BY column-list]
[HAVING conditions]
[ORDER BY column-list [ASC | DESC] ];

[ ] ตัวเลือก
ตัวอย่าง
SELECT hn, dayin, name, age
FROM pttbl
WHERE age > 30;

ประโยคคำสั่งนี้จะเลือกค่าทั้งหมด ในคอลัมน์ hn, dayin, name และ age จาก table “pttbl ที่ age มีค่ามากกว่า 30
Note: ต้องมีเครื่องหมาย semicolon(;) ปิดท้ายประโยค เพื่อชี้ว่าประโยคคำสั่ง SQL จบสมบูรณ์และพร้อมที่จะแปล
การสร้างแบบสอบถาม(Query) ในโปรแกรม Access
1. คลิกแถบ Queries > New > Design View > O
2. คลิกชื่อตาราง pttbl > Add > Close
3. นำ Field ชื่อ hn, dayin, name และ age มาใส่ใน Field Properties โดยการ Drag และ Drop ที่ละ Field หรือ โดยการดับเบิลคลิกที่ชื่อ Field ก็ได้
4. ใส่ Criteria เป็น > 30 ในคอลัมน์ age > Save > qry_age_more_30_pttbl
จะ ได้ผลตามรูปที่ 1
รูปที่ 1
การสร้างแบบสอบถาม(Query) ในโปรแกรม Access ด้วย SQL
1. คลิก View > SQL View
2. พิมพ์ประโยคคำสั่ง SELECT ตามไวยากรณ์ข้างต้น
SELECT pttbl.hn, pttbl.dayin, pttbl.name, pttbl.age
FROM pttbl
WHERE pttbl.age>30;
3. Save > qry_age_more_30_pttbl
จะได้ผลตามรูปที่ 2
รูปที่ 2
จากการสร้างทั้งสองแบบ เมื่อ View จะได้ผลตามรูปที่ 3
รูปที่ 3
เครื่องหมายเปรียบเทียบ (comparison operator)
= เท่ากับ
> มากกว่า
< น้อยกว่า
>= มากกว่า หรือเท่ากับ
<= น้อยกว่า หรือเท่ากับ
<> หรือ != ไม่ เท่ากับ
เครื่องหมายเปรียบเทียบอื่นๆ
LIKE ทดสอบเปรียบ เทียบข้อความ
NOT LIKE หาค่าที่อยู่นอกเหนือจาก LIKE
NULL ทดสอบเปรียบ เทียบค่าว่าง
NOT NULL ทดสอบเปรียบเทียบค่าที่ไม่ใช่ค่าว่าง
ตัวอย่าง
SELECT hn, dayin, name, age
FROM pttbl
WHERE pttbl.name LIKE "จ*";
ประโยค คำสั่งข้างบนจะเลือก แถว/ค่า ในคอลัมน์ hn, dayin, name และ age จาก table “pttbl” ที่มี name เริ่มต้นด้วย ‘จ’ ซึ่งจะส่งชื่อของผู้ป่วยที่ขึ้นต้นด้วย จ ออกมา

จะได้ผลตามรูปที่ 4 รูปที่ 5 และรูปที่ 6
รูปที่ 4

รูปที่ 5

รูปที่ 6
แสดงว่าในฐานข้อมูล มีผู้ป่วยที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย จ มี 2 คน
ตัวอย่าง
SELECT hn, dayin, name, age
FROM pttbl
WHERE name = NULL;
ประโยคคำสั่งข้างบนจะ เลือก แถว/ค่า ในคอลัมน์ hn, dayin, name และ age จาก table “pttbl” ที่มี name เป็นค่าว่าง

SELECT pttbl.hn, pttbl.dayin, pttbl.name, pttbl.age
FROM pttbl
WHERE (((pttbl.name) Is Null));

ตัวอย่าง
SELECT hn, dayin, name, age
FROM pttbl
WHERE name = Is Not Null;
ประโยคคำสั่งข้างบนจะเลือก แถว/ค่า ในคอลัมน์ hn, dayin, name และ age จาก table “pttbl” ที่มี name ไม่ใช่ค่าว่าง

SELECT pttbl.hn, pttbl.dayin, pttbl.name, pttbl.age
FROM pttbl
WHERE (((pttbl.name)Is Not Null));


ALL และ DISTINCT เป็นคีย์เวิร์ดที่ใช้ในการควบคุมเลือกข้อมูลให้แสดง ทั้งหมด (ALL) หรือเฉพาะเรคคอร์ดแบบไม่ซ้ำ (DISTINCT) ในคิวรี่ ถ้าต้องการดึงเฉพาะเรคคอร์ดในคอลัมน์ที่ระบุแบบไม่ซ้ำให้ใช้คีย์เวิร์ด DISTINCT โดย DISTINCT จะคัดเรคคอร์ดซ้ำออกไปสำหรับคอลัมน์ที่ระบุ หลังจากประโยคคำสั่ง
ตัวอย่าง
SELECT DISTINCT age
FROM pttpl;
ประโยคคำสั่งนี้ส่งออกค่า age ที่ไม่ซ้ำกันจาก table “pttbl”

ตัวดำเนินการ Between...And

กำหนดว่าจะให้ค่าของนิพจน์มีค่าอยู่ในช่วงค่าที่ระบุหรือไม่ คุณสามารถใช้ตัวดำเนินการนี้ได้ในคำสั่ง SQL (สตริง/คำสั่ง SQL: นิพจน์ที่กำหนดคำสั่ง SQL เช่น SELECT, UPDATEหรือ DELETEและรวมถึงส่วนคำสั่ง เช่น WHERE และ ORDER BY โดยทั่วไปจะใช้สตริง/คำสั่ง SQL ในแบบสอบถามและในฟังก์ชันการรวม)
ไวยากรณ์
expr [Not] Between value1 And value2
ไวยากรณ์ของตัวดำเนินการ Between...And มีส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วน คำอธิบาย
expr นิพจน์ที่ระบุเขตข้อมูลที่มีข้อมูลที่คุณต้องการประเมิน
value1, value2 นิพจน์ที่คุณต้องการใช้ประเมินเปรียบเทียบกับ expr
ข้อสังเกต
ถ้าค่าของ expr อยู่ระหว่าง value1 และ value2 (รวมทุกจำนวนระหว่างกลาง) ตัวดำเนินการ Between...And จะส่งกลับค่า True หรือมิฉะนั้นก็จะส่งกลับค่า False คุณสามารถใส่ตัวดำเนินการแบบตรรกะ Not เพื่อประเมินเงื่อนไขตรงข้ามได้ (ซึ่งก็คือ expr อยู่นอกช่วงที่ถูกกำหนดโดย value1 และ value2 หรือไม่)
คุณอาจใช้ Between...And เพื่อกำหนดว่าค่าของเขตข้อมูลจะอยู่ภายในช่วงตัวเลขที่ระบุหรือไม่ ตัวอย่างต่อไปนี้จะกำหนดว่าใบสั่งซื้อจะถูกส่งมายังตำแหน่งที่ตั้งซึ่งอยู่ ในช่วงรหัสไปรษณีย์หนึ่งหรือไม่ ถ้ารหัสไปรษณีย์อยู่ระหว่าง 98101 กับ 98199 ฟังก์ชัน IIf จะส่งกลับ “Local” หรือมิฉะนั้นจะส่งกลับ “Nonlocal”
SELECT IIf(PostalCode Between 98101 And 98199, “Local”, “Nonlocal”) FROM Publishers
ถ้า expr, value1 หรือ value2 เป็นค่า Null (Null: ค่าที่คุณสามารถป้อนลงในเขตข้อมูลหรือใช้ในนิพจน์หรือแบบสอบถามเพื่อบ่งชี้ ถึงข้อมูลที่หายไปหรือข้อมูลที่ไม่รู้จัก ใน Visual Basic คำสำคัญ Null จะหมายถึงค่า Null โดยบางเขตข้อมูล เช่น เขตข้อมูลคีย์หลักจะไม่สามารถมีค่า Null ได้) แล้ว ตัวดำเนินการ Between...And จะส่งกลับค่า Null
เนื่องจากอักขระตัวแทน (สัญลักษณ์แทน: อักขระที่ใช้ในคำถามและนิพจน์เพื่อรวมระเบียนทั้งหมด ชื่อแฟ้ม หรือรายการอื่นที่เริ่มต้นด้วยอักขระเฉพาะหรืออักขระที่ตรงกับรูปแบบเฉพาะ) เช่น * จะถือว่าเป็นอักขระจริง คุณจึงไม่สามารถใช้กับตัวดำเนินการ Between...And ได้ ตัวอย่างเช่น คุณไม่สามารถใช้ 980* และ 989* เพื่อค้นหารหัสไปรษณีย์ทั้งหมดที่ขึ้นต้นด้วย 980 จนถึง 989 ได้ แต่คุณมีทางเลือกสองทางเพื่อดำเนินการดังกล่าวให้เสร็จสมบูรณ์ คุณสามารถเพิ่มนิพจน์ในแบบสอบถามเพื่อเอาอักขระสามตัวทางซ้ายของเขตข้อมูล ข้อความและใช้ตัวดำเนินการ Between...And กับอักขระเหล่านั้น หรือคุณสามารถเพิ่มอักขระพิเศษในค่าสูงสุดและต่ำสุด ในกรณีนี้คือ 98000 ถึง 98999 หรือ 98000 ถึง 98999 - 9999 ถ้ามีการใช้รหัสไปรษณีย์ส่วนขยาย (คุณต้องละเว้น – 0000 จากค่าต่ำสุดเพราะไม่เช่นนั้น 98000 จะหายไปถ้ารหัสไปรษณีย์บางรหัสมีส่วนขยายและบางรหัสไม่มี)

ตัวดำเนินการ Like

เปรียบเทียบนิพจน์ สายอักขระกับรูปแบบในนิพจน์ SQL
ไวยากรณ์
expression Likepattern
ไวยากรณ์ของตัวดำเนิน การ Like มีส่วนต่างๆ เหล่านี้
ส่วน คำอธิบาย
expression นิพจน์ SQL ที่ใช้ในส่วนคำสั่ง WHERE
pattern สายอักขระหรือสายอักขระของตัวอักษร ซึ่ง expression ถูกนำมาเปรียบเทียบด้วย

หมายเหตุ
คุณสามารถใช้ตัวดำเนินการ Like เพื่อหาค่าในเขตข้อมูลหนึ่ง ซึ่งตรงกันกับรูปแบบที่คุณระบุ สำหรับ pattern คุณสามารถระบุค่าที่สมบูรณ์ (เช่น Like “Smith”) หรือคุณสามารถใช้ สัญลักษณ์ ตัวแทน เพื่อหาช่วงของค่าก็ได้ (เช่น Like “Sm*”)
ใน นิพจน์ คุณสามารถใช้ตัวดำเนินการ Like เพื่อเปรียบเทียบค่าของเขตข้อมูลกับนิพจน์สายอักขระได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใส่ Like “C*” ในแบบสอบถาม SQL แบบสอบถามจะส่งกลับค่าของเขตข้อมูลทั้งหมดที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร C ใน แบบ สอบถามแบบพารามิเตอร์ คุณสามารถพร้อมท์ผู้ใช้เพื่อให้ใส่รูปแบบที่จะใช้ในการค้นหาได้
ตัวอย่าง ต่อไปนี้จะส่งกลับข้อมูลที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร P ตามด้วยตัวอักษรใดก็ได้ระหว่าง A ถึง F และตัวเลขสามตัว
Like “P[A-F]###”
ตารางต่อไปนี้แสดงวิธีที่คุณสามารถใช้ Like เพื่อทดสอบนิพจน์สำหรับรูปแบบต่างๆ

ลักษณะการเปรียบเทียบ

รูปแบบ
ตรงกัน
(ส่งกลับค่า True)
ไม่ตรงกัน
(ส่งกลับค่า False)
อักขระหลายอักขระ a*a aa, aBa, aBBBa aBC
*ab* abc, AABB, Xab aZb, bac
อักขระพิเศษ a[*]a a*a aaa
อักขระหลายอักขระ ab* abcdefg, abc cab, aab
อักขระตัวเดียว a?a aaa, a3a, aBa aBBBa
ตัวเลขตัวเดียว a#a a0a, a1a, a2a aaa, a10a
ช่วงของอักขระ [a-z] f, p, j 2, &
อักขระภายนอกช่วง [!a-z] 9, &, % b, a
ไม่ใช่ตัวเลข [!0-9] A, a, &, ~ 0, 1, 9
หลายแบบร่วมกัน a[!b-m]# An9, az0, a99 abc, aj0

20110605

MsysACEs ,MsysModules,MsysObject มาได้อย่างไรทั้งๆที่ผมไม่ได้สร้าง

มีแฟนประจำส่งเมลล์มาหาผม และถามไว้อย่างนี้ครับ

เรียนอาจารย์สุภาพครับ 
ผมได้ส่ง ฐานข้อมูลมาให้อาจารย์ซึงก็เป็นฐานข้อมูลที่ผมได้ดาวน์โหลดมา อยาก จะให้อาจารย์ช่วยดูให้หน่อยครับ ว่าตารางเหล่า นี้ คือ MsysACEs ,MsysModules,MsysObject มาได้อย่างไรทั้งๆที่ผมไม่ได้ สร้าง และมีทุกฐานข้อมูลด้วย ไม่สามารถลบและแก้ไขได้  อาจารย์ช่วยชี้แนะ หน่อยครับ ว่าจะลบและแก้ไขอย่างไร 
ขอบคุณครับ 
ป.ล.อาจารย์ตอบไปที่บอร์ด ก็ได้ครับ 

ไฟล์เหล่านี้เป็นไฟล์ System ของ Access มันครับ และจะสร้างไว้ ใน Database ทุกตัว เพราะมันจะเก็บที่สำคัญ เช่น ชื่อของ Object ต่างที่เรา ได้สร้างขึ้น มันจึงไม่สามารถจะถูกลบออกได้
ถ้าตารางเหล่านี้หาย หรือติดขึ้นจะทำให้เราไม่สามารถจะเปิดเข้าไฟล์นั้นได้เลยครับ 
ฉะนั้นอย่าได้ลบมันนะครับ
ที่เราเห็นไฟล์เหล่านี้ เพราะเราไปกำหนดใน Options ให้มัน แสดง System Objects ครับ ถ้าไม่ต้องการให้รกตา ก็ให้ไปที่ เมนู Tools>Options>View tab>คลิกเครื่องหมายถูกที่ ช่อง System Objects ในส่วนของ Show ออกครับ

ตารางเหล่านี้ บางครั้งผมจะใช้ประโยชน์จากมันด้วย เช่น หาว่ามี Objects ชื่ออะไรบ้าง โดยไม่ต้องอาศัย Documentors เลย