Pages - Menu

20091020

Access Tutorial การออกแบบฐานข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล

Access เป็นโปรแกรม ฐานข้อมูลในชุด Microsoft Office ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดย Access ได้รับการพัฒนา เป็นฐานข้อมูลแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) ในระดับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop) มีสมรรถนะในระดับที่ดี การบำรุงรักษาทำได้ง่าย และสะดวก การเก็บข้อมูลของแต่ละ table จากการใช้งานจริง สามารถเก็บเรคคอร์ดได้อย่างน้อย 200,000 เรคคอร์ด ขนาดไฟล์ที่เก็บ ไม่น้อยกว่า 80 MB และสามารถทำงานในลักษณะ multi-users ได้จากประสบการณ์พบว่าสามารถทำงานได้ 5-7 ผู้ใช้พร้อมกัน ซึ่งไมโครซอฟต์ระบุว่า ขนาดการเก็บในแต่ละ table สามารถเก็บได้ 2 GB ภายใน Access มีอ๊อบเจคต่างๆ ที่ครอบคลุมการพัฒนา เป็นโปรแกรม โดยมีการติดต่อแบบ GUI (graphical user interface) ทำให้การพัฒนาทำได้สะดวก และใช้เวลาน้อย

ความเหมาะสมในการใช้ฐานข้อมูล

การเลือกใช้ Access หรือฐานข้อมูลระบบต่างๆ มีข้อควรพิจารณาที่สำคัญ คือ

  1. รูปแบบและขั้นตอนการทำงานมีความแน่นอน
  2. ปริมาณข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บมีมาก
  3. ใช้ข้อมูลแบบร่วมกัน (shared data)

เนื่อง จากการเขียนโปรแกรมฐานข้อมูล มีความซับซ้อน ต้องการใช้เวลาในการพัฒนา ดังนั้น ถ้าปริมาณข้อมูลไม่มากและรูปแบบของข้อมูลเปลี่ยนแปลงเสมอ จะทำให้การตอบสนองการใช้งานไม่ทันกาล แต่เมื่อข้อมูลถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลแล้ว จะมีประโยชน์อย่างมากในการวิเคราะห์ การสอบค้นย้อนหลัง รวมถึงการประเมินแนวโน้มต่างๆ

ฐานข้อมูล

ลักษณะ ของฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บแบบแถว-คอลัมน์ ในแนวแถวเป็นเก็บข้อมูลแต่ละข้อมูล รายละเอียดหรือฟิลด์จะเก็บในแนวคอลัมน์ ส่วนการอ้างอิงข้อมูลของ Access ใช้ชื่อฟิลด์


แนวคิดในการออกแบบฐานข้อมูล

จุด มุ่งหมาย และหน้าที่ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือ จัดขั้นตอน และกระบวนการประมวลผลจากข้อมูลเบื้องต้น (input) ให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ (output)

ใน ระบบฐานข้อมูล (database) มีข้อพิจารณามากขึ้นคือ ต้องคำนึงว่าจะนำข้อมูลเบื้องต้นเข้าไปเก็บใน ลักษณะใด ที่ทำให้ขั้นตอนการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ สามารถทำได้ตรงตามต้องการของวัตถุประสงค์ การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) ต้องมีความระมัดระวังลักษณะและขั้นตอนการทำงาน สมควรที่จะมีการออกแบบ ให้เข้าใจได้ง่าย ไม่มีความยุ่งยากใช้งานได้สะดวก ในส่วนความซับซ้อน ของการประมวลผลควรซ่อนไว้ภายในโปรแกรม ดังนั้น ผังการทำงานใหม่จะ มีลักษณะนี้

อ๊อบเจคของ Access

อ๊อบเจคของ Access ประกอบด้วย

  • Table ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งข้อมูล (Data source) ของอ๊อบเจคอื่น ได้แก่ คิวรี่ ฟอร์ม และรายงาน
  • คิวรี่ (Query) เป็นอ๊อบเจคที่สำคัญมาก นอกจากจะเป็นแหล่งข้อมูลให้กับฟอร์ม และรายงาน คิวรี่ มีชุดคำสั่งในการประมวลผล เช่น การเรียงลำดับ การหาผลรวม การคำนวณด้วยฟังก์ชัน การกำหนดเงื่อนไขคัดเลือกข้อมูล รวมถึงการแสดงผล โดยเรียกข้อมูลจากหลายๆ Table ที่สัมพันธ์กัน ออกมาเป็นกลุ่มข้อมูลเดียวกัน (Recordset)
  • ฟอร์ม (Form) เป็นอ๊อบเจคที่ทำหน้าที่เป็นส่วนติดต่อ กับผู้ใช้ผ่านจอภาพ ทำหน้าที่ได้ทั้งการป้อนข้อมูล และแสดงผล โดยเฉพาะการป้อนข้อมูล จะทำหน้าที่ได้ดีกว่า Table และคิวรี่ เพราะมีเครื่องมือต่างๆ อำนวยความสะดวก ในการป้อนข้อมูล และการควบคุมความถูกต้องของค่า
  • รายงาน (Report) เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่ได้ทำการประมวลแล้วออกมาทางเครื่องพิมพ์
  • มาโคร (Macro) เป็นชุดคำสั่งแบบสำเร็จรูป เพื่อจัดการและบริหารอ๊อบเจคของ Access เป็นส่วนที่ทำให้มีความสะดวกกับผู้พัฒนาโปรแกรม ในการสร้างชุดคำสั่งอย่างมาก
  • โมดูล (Module) เป็นส่วนที่ให้ผู้พัฒนาโปรแกรม เขียนชุดคำสั่งได้เอง ด้วยภาษา Visual Basic เพื่อใช้ เป็นคำสั่งควบคุม การคำนวณ และฟังก์ชันในการคำนวณ
  • เพจ (Access data page) เป็นอ๊อบเจคที่ทำหน้าที่เป็น ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ในแบบ Home page เพื่อใช้งานกับเว็บ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฟอร์ม

ใน การพัฒนาโปรแกรมจะต้องทำเครื่องมือต่างๆ ของ Access มาใช้ตั้งแต่การรับข้อมูล จนถึงการแสดงผล จากเครื่องมือที่มีทำให้ผังการทำงานสามารถกำหนดเป็นรูปธรรมมากขึ้นเป็น

ผัง ข้างบนได้แสดงความสัมพันธ์ของเครื่องมือต่างๆ ใน Access ที่นำมาประกอบขึ้นเป็นโปรแกรมฐานข้อมูล คือ มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ เครื่องมือในการประมวล และฐานข้อมูล


วิธีการออกแบบฐานข้อมูล

ข้อ คำนึงพื้นฐานในการออกแบบฐานข้อมูล คือ การนำข้อมูลเข้าไปจัดเก็บ ในตำแหน่งที่สามารถเรียกออกมาแสดงผลได้ตรงกับความต้องการ และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น กระบวนการวิเคราะห์จะเริ่มการพิจารณา ดังนี้

  1. วิเคราะห์เป้าหมายของฐานข้อมูล เพื่อที่จะทราบว่าจะเก็บข้อมูลประเภทไหน วัตถุประสงค์ของการใช้งาน และต้องการประมวลผลอะไรบ้าง จะทำให้ทราบขอบเขตในการทำงาน และการรวบรวมข้อมูลให้สอดคล้อง กับการใช้งาน
  2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มข้อมูลสำหรับการจัดเก็บ และพิจารณาความสัมพันธ์ ในด้านการประมวลผล เพื่อแสดงผลที่ต้องการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. วิเคราะห์การจัดเก็บข้อมูล เมื่อทราบจุดมุ่งหมาย และ ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆแล้ว จึงนำมาจัดกลุ่มเพื่อกำหนด Table ที่ใช้ในการเก็บให้สอดคล้องกับการทำงาน และความสามารถของ Access
  4. วิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูล เพื่อทำให้ฐานข้อมูล มีสารสนเทศที่เพียงพอกับวิเคราะห์ และการใช้งานในแต่ละ Table ควรจัดเก็บรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน
  5. วิเคราะห์การไหลของข้อมูล เพื่อทำให้สามารถออกแบบขั้นตอนการทำงาน ของโปรแกรมให้สอดคล้อง กับลักษณะการทำงาน มีความสะดวก และป้องกันความผิดพลาด หรือการรวบรวมสารสนเทศไม่ครบ

การกำหนด Table ตามคุณลักษณะของข้อมูล

จาก การที่ Access เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่ออกแบบในลักษณะ Relational Database ดังนั้น วิธีการ ออกแบบต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของ Table ในการใช้งานประกอบด้วย จึงจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูล และเรียกงานมาใช้ได้สะดวก เพื่อทำให้เข้าใจได้ง่ายถึงวิธีการจำแนกข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ Table จึงแบ่งลักษณะการประยุกต์ Table ตาม วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. Table เก็บข้อมูล หรือ Transaction file ข้อมูลในที่นี้หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่มีการบันทึกเป็นประจำ และเป็นข้อมุลที่แสดงการเคลื่อนไหวของระบบงาน เช่น รายการขายสินค้า รายการรับเข้าสินค้า การมาทำงานของพนักงาน เป็นข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์และประมวลผล
  2. Table เก็บค่าคงที่ หรือ Master file ค่าคงที่ในที่นี้หมายถึง ข้อมูลที่ใช้การประกอบในการวิเคราะห์ มีการเปลี่ยนแปลงน้อยและทำหน้าที่เป็นข้อมูลหลักสำหรับการอ้างอิง เช่น รายชื่อลูกค้า รายชื่อพนักงาน รหัสเครื่องจักร

การ แบ่งข้อมูลและ Table ออกเป็น 2 ลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะดวกในการจัดเก็บ และการวิเคราะห์โดย Table เก็บข้อมูล จะกำหนดให้พิจารณาเก็บเฉพาะข้อมูลเบื้องต้น ที่ต้องนำไปใช้ในการประมวลผล ในส่วน Table เก็บคงที่ จะนำไปใช้งานเพื่อป้องกันการป้อนค่าผิด เนื่องจากเป็นค่าอ้างอิงของระบบงาน ด้วยการใช้วิธีเลือกรายการที่มีอยู่ (เช่น สร้างเป็น Combo box) หรือใช้ดึงมาแสดงผลผ่านคิวรี่ ในการจัดแบ่งตามคุณสมบัติของ Table จะทำให้การออกแบบฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บ และ การประมวลผลข้อมูลทำได้โดยสะดวก


การกำหนด Table และฟิลด์

การกำหนด Table

  1. วิธีการจัดกลุ่ม ควรจัดกลุ่มข้อมูลในแต่ละ Table ควรให้มีเพียงวัตถุประสงค์เดียว เพื่อความสะดวกใน การจัดทำขั้นตอนการทำงาน และการประมวลผลข้อมูล
  2. การจัดกลุ่มข้อมูล ถ้าการจัดกลุ่มข้อมูลในแต่ละ Table ทำได้ถูกต้อง ฟิลด์ทุกฟิลด์จะต้องมีข้อมูลที่นำไปเก็บ และข้อมูลแต่ละข้อมูล จะต้องมีการบันทึกเพียงครั้งเดียว
    ถ้าแต่ละเรคคอร์ดที่เพิ่มเข้าไปแล้ว ปรากฏมีฟิลด์ว่าง ไม่ได้ใช้เก็บข้อมูล แสดงว่าฟิลด์ที่กำหนดนั้น อาจจะมีความสัมพันธ์ กับข้อมูลกลุ่มอื่น มากกว่าจัดเก็บใน Table ที่กำหนดไว้
    ถ้าการบันทึกข้อมูล พบว่ามีฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่ง มีการบันทึกมากกว่า 1 ครั้ง ควรพิจารณาว่า ฟิลด์นั้นมีความเหมาะสม ที่จะอยู่ใน Table ใดมากกว่า และสามารถส่งข้อมูลไปยัง Table ที่เรียกใช้ด้วยคิวรี่ เพื่อการแสดงผลของ 2 Table เป็นกลุ่มข้อมูล (Recordset)
  3. ข้อมูลกลุ่มเดียวกันควรเก็บด้วยกัน ในบางกรณีอาจจะมีบาง Table ที่มีฟิลด์ต่างๆ เหมือนกันทั้งหมด แต่มีการแยกข้อมูล เช่น การสร้าง Table ใบสั่งซ่อมเดือนมกราคม ใบสั่งซ่อมเดือนกุมภาพันธ์ ในลักษณะนี้ Table ควรรวมกัน แล้วการแยกเป็นรายเดือนด้วยคิวรี่ เพราะต้องคำนึงว่าการวิเคราะห์เงื่อนไขอื่นจะทำได้ยาก เช่น การวิเคราะห์เป็นรายไตรมาส รายปี หรือ ประวัติรวมของเครื่องจักร
  4. กลุ่มข้อมูลค่าคงที่ จะ ช่วยในการเก็บรายละเอียดของค่าคงที่ต่างๆ เพื่อสามารถทำให้ข้อมูลในแต่ละ ฟิลด์มีความเหมือนกัน โดยการใช้เครื่องมือ เช่น Combo Box และลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล ซึ่งคิวรี่สามารถ ทำหน้าที่โดยไม่จำเป็นต้องมีการเก็บค่า

การกำหนดฟิลด์

  1. ข้อมูลแต่ละฟิลด์ใน Table เดียว ควรสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของ Table ในการเก็บสารสนเทศ
  2. ค่าที่มาจากคำนวณ ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ใน Table เช่น ผลรวมสามารถใช้ [ราคาต่อหน่วย] * [จำนวน] หรือจำนวนวันซ่อม สามารถใช้ [วันที่ซ่อมเสร็จ] - [วันที่แจ้งซ่อม] ซึ่งคิวรี่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บค่าลักษณะนี้
  3. เก็บค่าเท่าที่จำเป็น เช่น ชื่อพนักงานใน Table ต่างๆ สามารถเก็บเฉพาะรหัสพนักงาน แต่เมื่อต้องการ แสดงรายละเอียดของพนักงานให้ใช้คิวรี่เชื่อมระหว่าง Table ที่เก็บรายละเอียดพนักงานกับ Table ที่เก็บเฉพาะรหัสพนักงาน แล้วให้แสดงผลลัพธ์และข้อมูลที่ต้องการออกมา ทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บค่าเดียวในหลายๆ แห่ง


Default value คุณสมบัติอื่นๆ

การกำหนดค่าเริ่มต้น ( Default value)

ในบางกรณีหน ดค่าเริ่มต้น ( Default value) อาจจะมีความจำเป็นในกรณีที่ทราบว่ามีค่าค่อนข้างแน่นอน หรือจำเป็นต้องมีค่าเสมอ เช่น การกำหนด Quantity เป็น 1 ในรายการสั่งซื้อ

ถ้ามีการกำหนดค่าเริ่มต้น ค่านี้จะปรากฏขึ้น เมื่อเพิ่มเรคคอร์ดใหม่ แต่ค่าสามารถแก้ไขได้

นอกจากนี้การกำหนดสามารถกำหนดด้วย Expression เช่น = Date() สำหรับข้อมูลประเภท Date / Time

การบังคับค่า ( Required Data Entry)

ใน บางฟิลด์มีความจำเป็นต้องบังคับให้มีค่าเสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาด ในการละเลยข้อมูลที่สำคัญเช่น Table รายชื่อพนักงาน สามารถบังคับว่า ต้องมีชื่อพนักงานเสมอ การกำหนดให้ตั้งค่าคุณสมบัติ Required เป็น Yes

Zero-Length string

ข้อมูล ประเภท Text และ Memo สามารถกำหนดค่า Allow Zero Length เพื่อรักษาคุณสมบัติ ในกรณีที่ ฟิลด์เชื่อมในคิวรี่ ลักษณะ Zero-Length จะคล้ายกับค่าว่าง ( Null) แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Zero-Length String ยัง ถือเสมือนมีตัวอักษรอยู่

การกำหนดค่าทำได้โดยดังค่าที่ Allow Zero Length ด้วยเครื่องหมายคำพูดเปิดและปิด (" ")

Validation Rule และ Validation Text

การกำหนดค่า Validation Value จะขึ้นกับประเภทข้อมูล การกำหนดจะช่วยป้องกันความผิดพลาด หรือ
เตือนให้ผู้ป้อนข้อมูลได้ทราบถึงความผิดปกติของข้อมูลกำลังป้อนเข้าไป

การ ตั้งค่า ให้กำหนดที่ Validation Rule เช่น ที่ฟิลด์ BirthDate สามารถกำหนดข้อมูลวันเกิดต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับวันที่ปัจจุบัน ด้วย Expression <= date() และกำหนด Validation text ว่า "วันเกิดต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับวันที่ปัจจุบัน"

Input Mask


Input Mask

การสร้าง Input Mask เพื่อช่วยในการป้อนค่าให้ถูกต้อง เช่น แบบของรหัสบัญชี หรือหมายเลขโทรศัพท์

วิธีการสร้าง Input Mask

1) การสร้าง Input Mask ด้วย Wizard

ช่วยในการสร้างสำหรับข้อมูลบางลักษณะ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์ ฯลฯ

• คลิกปุ่ม Build ที่ด้านขวาสุดของช่อง

• ทำตามคำแนะนำของ Wizard

- การเลือกรูปแบบและประเภทข้อมูล แล้วคลิก Next

- กำหนดรูปแบบและสัญลักษณ์ ในการป้อนข้อมูล

2) การสร้าง Input mask เอง

ให้กำหนด Mask character เพื่อกำหนดคุณสมบัติ Input Mask ตามตารางต่อไปนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ในการสร้าง Input Mask

Mask Character ความหมาย
0 ตัวเลข (บังคับใส่ค่า)
9 ตัวเลข (ไม่บังคับใส่ค่า)
# ตัวเลข , เครื่องหมาย + หรือ - หรือช่องว่าง (ไม่บังคับใส่ค่า)
L ตัวอักษร (บังคับใส่ค่า)
? ตัวอักษร (ไม่บังคับใส่ค่า)
A ตัวอักษรหรือตัวเลข (ไม่บังคับใส่ค่า)
a ตัวอักษรหรือตัวเลข (ไม่บังคับใส่ค่า)
& ตัวอักษรใดๆ หรือช่องว่าง (บังคับใส่ค่า)
C ตัวอักษรใดๆ หรือช่องว่าง (ไม่บังคับใส่ค่า)
. , : ; / เครื่องหมายแบ่งจุดทศนิยม จุลภาค วันที่ หรือเวลา (ซึ่งใช้กับการกำหนดที่ International section ใน Control panel )
< ตัวอักษรด้านขวา เปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก
> ตัวอักษรด้านขวา เปลี่ยนเป็นอักษรตัวใหญ่
! ให้แสดง Input ชิดขวา
\ ให้แสดงสัญลักษณ์ที่กำหนดใน Input Mask

ตัวอย่างของ Input-Mask

Input Mask ค่าตัวอย่าง
(000) 000-0000 (662) 282-7744
(999) 000-0000! (662) 282-7744 หรือ () 282-7744
(000) AAA-AAAA (662) 282-ABCD
000-0000 a 999 255-8000 x 1120
>L???L?0L00LL MO665 GRAND 4 x 35 AB

เงื่อนไขของ Input Mask

Input Mask จะเป็นออกเป็น 3 ส่วน แยกกันด้วยเครื่องหมาย : ( colon)

ส่วนที่ 1 เป็นการกำหนดแบบ Input Mask

ส่วนที่ 2 เป็นการกำหนดว่า ตัวอักษรที่กำหนดซึ่งใน Input Mask จะเก็บไว้หรือไม่ :

0 เก็บตัวอักษร input mask ไว้ในฐานข้อมูลด้วย
1 เก็บเฉพาะค่าที่ป้อนเข้าไป

ส่วน ที่ 3 เป็นการกำหนดว่าสัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบ Input Mask เพื่อเป็นการแสดงพื้นที่ในการป้อนอักษร ANSI หรือใส่ช่องในเครื่องคำพูด (" ") เพื่อทิ้งไว้เป็นช่องว่าง และถ้าไม่มีการระบุ Access จะแสดงด้วยเส้นใต้

ตัวอย่าง " A"LLLL- 0000 ; 0 ;x

0000-0000 เป็นส่วนที่ 1 : 4 ตัวแรกต้องค่าเป็นตัวอักษร 4 ตัวหลังป้อนค่าตัวเลข
0 เป็นส่วนที่ 2 : ให้เก็บ A และ - ไว้ในฐานข้อมูลด้วย
x เป็นส่วนที่ 3 : สัญลักษณ์ของค่าที่ต้องป้อนเป็น x

รูปแบบที่ปรากฏ Axxxx - xxxx

Format รูปแบบ (Format)

จะเป็นการกำหนดแบบในการดูข้อมูลหรือแสดงข้อมูล ไม่เกี่ยวกับการเก็บข้อมูล ในการแสดงผล จะมีการแสดงข้อมูลในตารางข้อมูลของ Table และคิวรี่ และกำหนดค่าควบคุมในการสร้างฟอร์มหรือรายงานที่สร้างขึ้นมาใหม่ ส่วนฟอร์มและรายงานที่สร้างมาก่อนจะไม่มีผลกระทบ Format เป็นเพียงการอำนวยความสะดวก และความสวยงามในการอ่านข้อมูลเท่านั้น

รูปแบบแสดงข้อมูลแบบสากล ( International Data Format)

Access จะแสดงค่าซึ่งเป็นค่าที่กำหนดจาก Control Panel ของ Windows ในส่วนการกำหนดค่า international setting สำหรับ Number และ Date/Time ตามรายการต่อไปนี้

รูปแบบของ Access ค่ากำหนดใน Control Panel
Standard Number Format
Currency Currency Format
Short Date Short Date Format
Long Date Long Date Format
Short Time Time Format

ถ้าคำที่แสดงออกมาไม่ตรงกับแบบที่ใช้โดยทั่วไป ให้ไปตรวจค่าที่ตั้งไว้ในส่วน International section ใน Control Panel

รูปแบบการแสดงข้อมูลประเภทตัวเลขและทศนิยม

ถ้า ไม่มีกำหนดรูปแบบ ( Format) หรือกำหนดเป็น General number เมื่อมีการแสดง จะแสดงโดยไม่มี เครื่องหมายจุลภาค ถ้าต้องการเครื่องหมายจุลภาคให้เลือกแบบ Standard หรือ Currency

ตารางข้างล่างจะแสดงแบบของฟิลด์

แบบ ตัวเลข การแสดงผล
General Number 1234.5 12 34.5
Currency 1234.5 $1,234.50
Fixed 1234.5 1234.5
Standard 1234.5 1,234.50
Percent 0.824 82.40%
Scientific 1234.5 1.234E+03

ใน ส่วนของทศนิยม ( Decimal place) จะกำหนดล่วงหน้าเป็น auto จะแสดงค่าทศนิยมตามแบบข้อมูล ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการแสดงจำนวนทศนิยมตามความต้องการได้

รูปแบบการแสดงข้อมูลประเภท Date/Time

ตารางต่อไปนี้จะแสดงแบบที่มีให้สำหรับฟิลด์ที่ประเภทข้อมูลเป็น Date/Timenb

รูปแบบ การแสดงผล
General Date 1/31/99 4:30:00 PM (US)
31/1/99 10:30:00 ( UK )
Long Date Friday January 31, 1999 (US)
31 January 1999 ( UK )
Medium Date 31-Jan-99
Short Date 1/31/99 (US)
31/1/99 ( UK )
Long Time 4:30:00 PM
Medium Time 04:30 PM
Short Time 10:30

http://www.widebase.net/developer/access/mdbtutorial/mdbtutorial11_format02.shtml


Field Size คุณสมบัติฟิลด์

คุณสมบัติฟิลด์

เมื่อมีการกำหนดฟิลด์แล้วต้องมีการกำหนดคุณสมบัติเพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์

ขนาดฟิลด์ (Field Size)

การ กำหนดขนาดฟิลด์ของข้อมูลประเภท Text และ Number ทำได้โดยการกำหนดค่าคุณสมบัติ Field size ค่ากำหนดขึ้นมาจะช่วยควบคุมไม่ให้มีการใส่ค่าที่ใหญ่กว่ากำหนด

ข้อมูลประเภท Text

การ กำหนดจำนวนอักษรในฟิลด์จะเป็นการระบุจำนวนค่าสูงสุดที่เก็บไว้ในฟิลด์ได้ เช่น กำหนดขนาดฟิลด์ ได้ 6 ตัวอักษร สำหรับเก็บรหัส 6 ตัวอักษร จะทำให้ป้องกันอุบัติเหตุในการป้อนค่ามากกว่า 6 ตัวอักษรลงในฟิลด์

ขนาดของฟิลด์กำหนดได้ตั้งแต่ 1 ถึง 255 ตัวอักษร แต่ Access จะมีค่าเริ่มที่ 50 ตัวอักษร

ถ้า มีการแก้ไขด้วยการลดขนาดฟิลด์ลง เช่น 100 ตัวอักษรเหลือ 50 ตัวอักษร Access จะตัดตัวอักษรด้านขวาออกไปให้เหลือเท่ากับจำนวนตัวอักษรที่มีการเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลประเภท Number

การกำหนดขนาดฟิลด์ของข้อมูลประเภท Number จะเป็นกำหนดช่วงของค่าที่สามารถเก็บในฟิลด์ได้ และ เก็บค่าที่เป็นทศนิยม Access จะกำหนดค่าเริ่มต้นเป็น Long integer แต่สามารถเปลี่ยนค่าเริ่มต้นได้ที่ Option (ตัวเลือก) ในเมนู Tools (เครื่องมือ)

ค่าของฟิลด์ ช่วงข้อมูล ทศนิยม ขนาดการเก็บ
Byte 0 ถึง 255 ไม่มี 1 ไบต์
Integer - 32 , 768 57 ถึง 32 , 167 ไม่มี 2 ไบต์
Long integer - 2 , 147 , 483 , 648 ถึง 2,147,483,647 ไม่มี 4 ไบต์
Single - 3.4 x 10^38 ถึง 3.4 x 10^38 7 4 ไบต์
Double -1.1797 x 10^308 ถึง 1.797 x 10^308 15 8 ไบต์

ใน การกำหนดขนาดของฟิลด์ จะเป็นการดีถ้ากำหนดให้ฟิลด์มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะทำให้ ทำงานได้เร็วขึ้น เช่น ถ้าเป็นเลขจำนวนจริงขนาดเล็กอาจจะเลือก Byte ส่วนฟิลด์ที่ต้องเก็บค่าค่อนข้างมาก ให้กำหนดด้วย Integer หรือ Long Integer

การเก็บค่าที่มีทศนิยมสามารถกำหนดเป็น Single หรือ Double ส่วนค่าทางด้านการเงินควรเลือกข้อมูล ประเภท Currency ไม่ควรเป็นประเภท Number

ในการเปลี่ยนแปลงกำหนดฟิลด์ ถ้าเปลี่ยนจาก Single หรือ Double เป็น Byte integer หรือ Long integer นั้น Access จะทำการปัดทศนิยมโดยอัตโนมัติ

ถ้าการเปลี่ยนค่าขนาดฟิลด์เล็กลง และค่าที่มีอยู่มีค่าใหญ่กว่าค่าที่กำหนดใหม่ จะมีการแทนค่าเหล่านี้ ด้วยค่าว่าง ( Null value )


เมนูคำสั่ง Tools


12. Option

Option เป็นการกำหนดค่าของสภาพแวดล้อมในการทำงานและการออกแบบฐานข้อมูล เช่น การกำหนดค่าเริ่มต้นของข้อมูลประเภทต่างๆ ค่าเริ่มต้นของตัวอักษร (Font) ค่าเริ่มต้นของความกว้างของคอลัมน์ เป็นต้น การกำหนดค่าเริ่มต้นของ Option สามารถแบ่งได้ 8 กลุ่ม คือ

1. View

เป็นการกำหนดการแสดงลักษณะทั่วไป คือ

1.1 แสดงลักษณะทั่วไป เช่น แถบสถานะ การซ่อนอ๊อบเจค
1.2 แสดงคอลัมน์ในมาโคร
1.3 กำหนดการคลิกที่ Database Windows
1.4 กำหนดการใช้อักษร 2 ชุด

2. General

เป็นการกำหนดสภาพทั่วไปของฐานข้อมูล คือ

2.1 กำหนดระยะขอบของการพิมพ์
2.2 การแก้ไขอัตโนมัติ
2.3 โฟลเดอร์เริ่มต้น
2.4 การเรียงลำดับ
2.5 รายการไฟล์ที่ใช้ล่าสุด
2.6 การกระชับข้อมูลเมื่อปิด (Compact database when close)
2.7 การจัดรูปแบบปีเป็น 4 หลัก
2.8 รูปแบบของ Hyperlink

3. Edit/Find

เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นของการค้นหาและการแก้ไข

3.1 ลักษณะการค้นหา
3.2 การยืนยัน

- การเปลี่ยนแปลงเรคคอร์ด
- การลบ
- การใช้คิวรี่แบบ Action

3.3 การใช้ฟิลเตอร์
3.4 การแสดงคำนวณเรคคอร์ด

4. Keyboard

เป็นการกำหนดการทำงานของแป้นพิมพ์

4.1 การเคลื่อนที่หลังจากกด Enter
4.2 เมื่อเคลื่อนเข้าสู่ฟิลด์
4.3 การเคลื่อนที่ของแป้นลูกศร
4.4 การหยุดของเคอร์เซอร์

5. Datasheet

เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเมื่อการเปิดตารางข้อมูล

5.1 สีเริ่มต้น
5.2 ค่าเริ่มต้นการแสดงเส้นตาราง
5.3 ความกว้างเริ่มต้นของคอลัมน์
5.4 แบบตัวอักษร
5.5 ลักษณะเริ่มต้นของเซลล์
5.6 แสดงการเคลื่อนไหว

6. Form/Report

เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการออกแบบฟอร์ม และรายงาน

6.1 การเลือกตัว Control
6.2 แบบของฟอร์มและรายงาน
6.3 การใช้ Event Procedure

7. Advanced (ขั้นสูง)

เป็นการกำหนดค่าเริ่มต้นในการทำงานที่กับระบบสนับสนุนการทำงานของฐานข้อมูล เช่น ระบบ Dynamic data exchange

7.1 การใช้ DDE
7.2 โหมดการเปิดเริ่มต้น
7.3 อากิวเมนต์ของคำสั่ง
7.4 การเลือกและการล็อคเรคคอร์ด
7.5 กำหนดระยะเวลาของระบบ
7.6 กำหนดการเปิดฐานข้อมูลโดยการล็อคเรคคอร์ด

8. Table/Query

เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการออกแบบฐานข้อมูลและคิวรี่

8.1 ขนาดเริ่มต้นของประเภทข้อมูล
8.2 ประเภทข้อมูลเริ่มต้น
8.3 ชื่อที่เป็นดัชนี
8.4 การออกแบบคิวรี่
8.5 การอนุญาตเรียกใช้

Startup

7. Startup

  1. Startup เป็นการกำหนดสภาพแวดล้อมเมื่อเปิดโปรแกรม
  2. Application Title เป็นข้อความที่จะปรากฏบนแถบไตเติ้ล (Title bar)
  3. Application Icon เป็นการกำหนด Icon ของโปรแกรมใน Desktop แทนการใช้ Icon ของ Access
  4. Display Form ฟอร์มแรกที่ปรากฏเมื่อมีการเปิดโปรแกรม
  5. Menu Bar เป็นการเลือกใช้เมนูคำสั่งกรณีใช้แบบเจาะจงหรือสร้างเองให้เลือกชื่อแถบเมนู ส่วน Default จะเป็นการใช้เมนูคำสั่งของ Access

8. Macro

Macro เป็นกลุ่มคำสั่งในที่เกี่ยวกับการประยุกต์มาโคร และการเปิด Visual Basic Editor

9. ActiveX Control

ActiveX Control สำหรับใช้ในการเลือกไฟล์ไลบรารี่ เมื่อมีการใช้ Visual Basic ในการควบคุมโปรแกรมและฐานข้อมูล ที่มีส่วนในการใช้ DAO

10. Addin - Ins

Addin - Ins เป็นกลุ่มคำสั่งเพื่อใช้ในการเจาะจง (Customize) การบริหาร และการประยุกต์ฐานข้อมูล
Addin manager เป็นการเรียกใช้ Wizard ที่พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ Visual Basic หรือสร้างขึ้นโดย Access โดยการเลือกจากที่เก็บแล้วนำมาติดตั้ง (installed) เข้ามาในฐานข้อมูล

11. Customize

Customize ใช้ในการสร้างแถบเครื่องมือ และเมนูคำสั่งแบบเจาะจง เพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์และขอบเขตการทำงานที่ต้องการ

Security

5. Security

Security เป็นการสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้งาน โปรแกรมประยุกต์และฐานข้อมูลเพื่อจำกัดการเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อป้องกันการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลและฐานข้อมูลจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง

การกำหนดระบบรักษาความปลอดภัย ประกอบด้วย

  1. การกำหนด Workgroup
  2. การตั้งรหัสผ่านฐานข้อมูล
  3. การกำหนดบัญชีผู้ใช้และกลุ่มผู้ใช้
  4. การให้สิทธิผู้ใช้

6. Replication

Replication มีความเหมาะสมในการประยุกต์กับฐานข้อมูลในระบบ WAN (Wide area network) เพราะเป็นการประหยัดการใช้ Network ซึ่งระบบ Replication จะสร้างฐานข้อมูลคู่หนึ่งที่เหมือนกันทุกประการและทำงานเป็นอิสระต่อกัน การปรับข้อมูลจะทำเป็นครั้งๆ โดยการใช้คำสั่ง Synchronize Now (การทำข้อมูลให้ตรงกัน) ในการปรับฐานข้อมูล Replication ทั้งสองตัวจะทำการตรวจและส่งเฉพาะข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงประหยัดเวลาในการส่งข้อมูล เช่น ระบบคลังสินค้า ที่ผู้ใช้มีคลังอยู่ที่สุพรรณบุรี และกรุงเทพ ถ้าใช้ระบบ Replication โดยมีการกำหนดเวลาการปรับข้อมูลวันละ 2 ครั้ง จะทำให้เสียค่าโทรศัพท์น้อยลง

ในการ Replication จะสร้างฐานข้อมูลเป็น 2 แบบ คือ

  • Design Master เป็นฐานข้อมูลแม่ ซึ่งมีได้เพียงตัวเดียวในระบบ สำหรับใช้ในการแก้ไขอ๊อบเจคต่างๆ ในฐานข้อมูลเหมือนฐานข้อมูลปกติ
  • Replica เป็นฐานข้อมูลลูก ซึ่งสามารถสร้างได้หลายตัวในระบบ มีข้อแตกต่างจาก Design Master คือ ที่ไม่สามารถแก้ไขอ๊อบเจคได้

ถ้ามีการสร้างอ๊อบเจคใหม่ใน Replication อ๊อบเจคที่สร้างใหม่ จะใช้ได้เฉพาะ Replication ตัวที่สร้าง

  1. Synchronize Now เป็นการปรับข้อมูลระหว่าง Design Master กับ Replica ให้มีข้อมูลเหมือนกัน ถ้ามีการย้ายตัว Design Master แล้วจะไม่สามารถปรับข้อมูลได้
  2. Create Replica เป็น Wizard ใช้ในการสร้าง Replication
  3. Partial Replica Wizard การสร้าง Replica แบบบางส่วนเป็นการสร้าง Replica โดยให้มีการคัดเลือกข้อมูลที่ต้องการก่อนส่งออกไปเป็นข้อมูลของ Replica ที่สร้างขึ้น ซึ่งแตกต่างจากสร้าง Replication เต็มแบบ ซึ่งต้องใช้ฐานข้อมูลทั้งหมด
  4. Recovered Design Master เนื่องจาก Design Master เป็น Replica ตัวเดียวที่สามารถแก้ไขอ๊อบเจคได้ ในบางกรณีที่ต้องแก้ไขอ๊อบเจคของ Replica สามารถทำได้โดยเรียกฐานะเป็น Design Master
  5. Resolve Conflict ถ้าการทำงานกับ Replica มีปัญหาจากการป้อนข้อมูล Access จะมีข่าวสารแจ้งถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเพื่อให้ทำการแก้ไข

การจัดการฐานข้อมูลด้วยคำสั่งของเมนู Tools

เมนู Tools ของ Access เป็นที่รวมคำสั่งที่ใช้การจัดฐานข้อความ การอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ฐานข้อมูล รวมถึงการบำรุงรักษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักเพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างประสิทธิภาพของฐาน ข้อมูล

1. การประยุกต์ร่วม เป็นฟังก์ชันที่ใช้ร่วมกันชุด Microsoft Office

  1. Spelling เป็นเรียกใช้การสะกดคำของ Office มาใช้งาน
  2. Autocorrect เป็นการเรียกใช้การแก้ไขคำผิดอัตโนมัติของ Office มาใช้งาน
  3. Office link เป็นการใช้โปรแกรม Microsoft Word และ Excel มาแสดงผลข้อมูลของอ๊อบเจค
  4. Online Collaboration (การร่วมมือกันแบบออนไลน์) เป็นการนำ Net meeting มาประยุกต์ในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไข Access ผ่านระบบเครือข่าย

2. Relationships

Relationships (ความสัมพันธ์) เป็นการเปิด Relationship Windows เพื่อใช้ในการสร้างหรือแก้ไขความสัมพันธ์ของ Table

3. Analyze

Analyze เป็นคำสั่งช่วยในการวิเคราะห์ฐานข้อมูลและอ๊อบเจคที่สร้างขึ้นมา

  1. Table เป็นการวิเคราะห์สารสนเทศที่จัดเก็บได้ใน Table และแนะนำการแก้ไขด้วยการแยกฐานข้อมูลใหม่ วิธีการวิเคราะห์ Table ให้ทำตาม Wizard
  2. Performance เป็นการวิเคราะห์สมรรถนะการทำงาน โดยพิจารณาการประยุกต์ดัชนี (Index) และการกำหนดความสัมพันธ์ (Relationship) ของฐานข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ Performance ให้ทำตาม Wizard

4. Database Utility

Database Utility เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้ในการบริหารและบำรุงรักษาฐานข้อมูล

  1. Converted Database สำหรับแปลงฐานข้อมูล Access เวอร์ชันเก่า เช่น Access 97 มาเป็น Access 2000 และ การแปลง Access 2000 กลับไปเป็น Access 97
  2. Compact Database เป็นคำสั่งที่สำคัญใช้ในการบำรุงรักษาฐานข้อมูล คำสั่งนี้จะทำหน้าที่ขจัดอ๊อบเจคชั่วคราว(Temporary object) และซ่อมดัชนีของฐานข้อมูลไปพร้อมๆกัน การ Compact Database เป็นงานที่สำคัญที่ต้องทำอยู่เสมอ ดังนั้น Access 2000 ได้เพิ่มความสะดวกให้กับ ผู้ใช้งาน โดยสามารถกำหนดคำสั่งให้ Compact Database ทุกครั้งที่ปิดโปรแกรมในเมนู Option แต่จะใช้เวลาในการ Compact Database ก่อนปิดฐานข้อมูล ซึ่งระยะเวลาขึ้นกับขนาดฐานข้อมูล
  3. Link Table Manager เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับปรุงการเชื่อม (Link) ของฐานข้อมูลที่เป็นลูกข่ายกับฐานข้อมูลหลักที่เก็บ Table เนื่องการเชื่อม Table นั้น Access จำพาร์ทของฐานข้อมูล เมื่อมีการย้ายฐานข้อมูลไปที่ใหม่จำเป็นต้องปรับการเชื่อมโยงไฟล์โปรแกรม กับฐานข้อมูลจากพาร์ทเดิมให้เป็นพาร์ทใหม่
  4. Database Splitter เมื่อมีการสร้างฐานข้อมูลมีทั้ง Table และอ๊อบเจคอื่นๆ (เช่น คิวรี่ ฟอร์ม) แล้วมีความต้องการแยกเก็บระหว่างไฟล์ที่เป็นฐานข้อมูล และไฟล์ประยุกต์ที่เก็บเฉพาะอ๊อบเจคอื่นๆ เพื่อความสะดวกในการปรับปรุงโปรแกรม คำสั่งนี้จะทำการแยกเป็นฐานข้อมูลเก็บเฉพาะ Table และฐานข้อมูลที่มีเฉพาะอ๊อบเจคอื่นๆ แต่จะเชื่อม Table จากฐานข้อมูลที่มีเฉพาะ Table มายังฐานข้อมูลที่มีเฉพาะอ๊อบเจคอื่นๆ โดย อัตโนมัติ
  5. SwitchBoard Manager เมื่อมีการสร้างอ๊อบเจคต่างๆ เรียบร้อยแล้ว การสร้างฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็นเมนูหลักในการเปิดฟอร์ม รายงาน หรืออ๊อบเจคอื่นๆ จะเป็นการกำหนดขั้นตอนการติดต่อกับฐานข้อมูล ใน Access มีคำสั่ง Switchboard Manager เพื่อช่วยในการสร้างเมนูหลัก โดย Switchboard มี Table ชื่อ Switchboard ทำหน้าที่เก็บคำสั่ง ชื่อเมนู และหน้าที่
    ส่วนประกอบของ Switchboard มีอยู่ 2 ส่วนสำคัญ
    1. Switchboard Page เป็นฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นเมนู สามารถจัดสร้างเป็นเมนูย่อยได้หลายระดับ
    2. Switchboard Item เป็นคำสั่งที่ทำงานกับอ๊อบเจค โดย Item ที่สร้างขึ้นอยู่ใน Switchboard Page
  6. Uprising ถ้าระบบใหญ่ขึ้นมากๆ ความสามารถของ Access จะลดลง และในหน่วยงานมีการใช้ระบบ SQL Server ก็สามารถแปลงจากฐานข้อมูล Access ไปยัง SQL Server โดยการใช้คำสั่ง Uprising
  7. Make MDE File การแปลงฐานข้อมูลจากไฟล์ MDB ให้เป็นไฟล์ MDE เป็นประโยชน์ในกรณีที่โปรแกรม มีการใช้คำสั่ง Visual Basic การแปลงเป็นไฟล์ MDE จะทำการคอมไพล์คำสั่ง Visual Basic ทำให้มองไม่เห็นและไม่สามารถแก้ไขคำสั่ง Visual Basic เพื่อป้องกันโปรแกรม ขณะเดียวกันจะลดขนาดไฟล์ และใช้หน่วยความจำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Visual Basic ใน Access

Visual Basic คือ ชุดคำสั่งที่ใช้บริหาร และควบคุมการทำงานของโปรแกรมและอ๊อบเจค ซึ่ง Visual Basic เป็นระบบภาษาแบบ Object Oriented Programming เพื่อสนับสนุนการใช้งานอ๊อบเจคต่างๆ ภายในโปรแกรม Access เช่น คิวรี่ ฟอร์ม หรือฐานข้อมูล แม้กระทั่งตัว Access สามารถนับเป็นอ๊อบเจคหนึ่งได้เช่นกัน

อ๊อบเจคจะต้อง มีค่าคุณสมบัติของตัวเอง เช่น คุณสมบัติของฟอร์ม สามารถกำหนดแบบของฟอร์ม Event การป้อนข้อมูลหรือ Text Box ในฟอร์ม สามารถกำหนดชนิดตัวอักษร แหล่งข้อมูล ฯลฯ

การทำงานของ Visual Basic การนำ Visual Basic ไปใช้งานกับอ๊อบเจคจะประกอบด้วย คำสั่ง (Method) และ Event

  • คำสั่ง คือ คำสั่งในการทำงานกับอ๊อบเจค
  • Event คือ สภาพแวดล้อมของอ๊อบเจคหรือตัว Control เพื่อใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรม ตัวอย่างเช่น เมื่อเปิดฟอร์มให้คำสั่งทำงาน เช่น ให้มีข้อความเตือนผู้ใช้งานโดยใช้ Msg box

Procedure การทำงานของ Visual Basic จะรวบรวมคำสั่งไว้ใน Procedure ซึ่ง Procedure อาจจะมีคำสั่งเดียว หรือชุดคำสั่งตามการใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • ฟังก์ชัน เป็น Procedure ที่ส่งคืนออกมาภายหลังการประมวลผล สามารถใช้เป็น Expression ในการคำนวณ
  • Sub Procedure เป็น Procedure ที่ใช้ประมวลผล แต่ไม่สามารถส่งคืนค่าออกมา

โมดูล (Module) เป็นที่เก็บ Procedure ของ Visual Basic แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

  • Standard Module เป็นการเก็บ Procedure ที่เรียกใช้ได้จากทุกส่วนของโปรแกรม หรือเป็น Procedure ที่ใช้งานร่วมกันของทุกอ๊อบเจค
  • Class Module เป็นการเก็บ Procedure ที่ใช้เฉพาะฟอร์มหรือรายงาน โดยอ๊อบเจคอื่นไม่สามารถเรียกมาใช้งานได้

Event Procedure ในการสร้างและใช้งาน Sub Procedure ต่างๆ จะต้องคำนึงถึง Event ที่ใช้งาน เช่น ต้องการคลิกให้กำหนด Sub Procedure ที่คุณสมบัติ On Click หรือต้องการให้คำสั่งทำงาน เมื่อมีการเปิดฟอร์ม ให้กำหนด Sub Procedure ที่คุณสมบัติ On Open เป็นต้น

Visual Basic Editor ทำหน้าที่ในการเรียกคำสั่ง Visual Basic มาแก้ไข

Locals Window ใช้ในการทดสอบคำสั่งของ Visual Basic โดยสามารถติดตามการประมวลผลตามขั้นของชุดคำสั่ง การเปิด Locals window ให้คลิก Locals window จากเมนู View (เลือกคำสั่ง View + Locals Window) ใน Visual Basic Edior

Immediate Window ใช้ในการทดสอบค่าของตัวแปร การเปิด Immediate window ให้คลิก Immediate window จากเมนู View (เลือกคำสั่ง View + Immediate window) ใน Visual Basic Edior

ไวยากรณ์ของ Visual Basic

ในการใช้ภาษา Visual Basic ต้องคำนึงถึงไวยากรณ์ที่ถูกต้องจึงจะใช้คำสั่งของ Visual Basic ในการทำงานได้

- ไวยากรณ์ของ Procedure

รูปแบบ

ประเภท Procedure (อากิวเมนต์) as ประเภทข้อมูล
คำสั่ง
End Sub

- ไวยากรณ์ของ Function

รูปแบบ

Function (อากิวเมนต์) as ประเภทข้อมูล
คำสั่ง
End Sub

อากิวเมนต์ของฟังก์ชันเป็นตัวแปรที่ต้องนำเข้ามาใช้ในการคำนวณ

- ไวยากรณ์กำหนดตัวแปร

รูปแบบ Dim ชื่อตัวแปร as ประเภทข้อมูล
Dim strCriteria As String

- ไวยากรณ์การใช้คำสั่งมาโคร

รูปแบบ Docmd ชื่อคำสั่งมาโคร, (อากิวเมนต์)
DoCmd.OpenForm "frmEmployee", acNormal

- ไวยากรณ์การใช้อ๊อบเจค

รูปแบบ ชื่ออ๊อบเจค คุณสมบัติ = Expression
cmdExit.Enable = False

- การอ้างอิงชื่ออ๊อบเจค เช่น เรียกอ๊อบเจคมาใช้งานตาม Expression

รูปแบบ Object Name Property = Expression

Object Name คือ ชื่อของอ๊อบเจค
Property คือ ค่าคุณสมบัติที่อ้างอิง
Expression คือ ค่ากำหนดคุณสมบัติ

- การเปลี่ยนค่าของตัว Control

รูปแบบ Form!Order subform!UnitsPrice = 50

หมายถึง ตัว Control ชื่อ [UnitPrice] ในฟอร์มชื่อ Orders Subform เท่ากับ 50

- การเปลี่ยนค่าของคุณสมบัติ

รูปแบบ Form!Order subform!UnitsPrice.Enable = False

หมายถึง ตัว Control ชื่อ [Unit Price] ในฟอร์มชื่อ Orders Subform ไม่ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในตัว Control ชื่อ UnitPrice การอ้างอิงชื่อตัว Control ในฟอร์มที่กำลังใช้งานอยู่ สามารถเขียนย่อเป็น

Unit Price.Enable = False

เพราะขณะที่กำลังใช้ฟอร์ม [Order subform] Access จะรับรู้ว่า หมายถึง อ๊อบเจคตัวใด

20091019

การใช้งานระดับเบื้องต้น ของ Access

การใช้งานระดับเบื้องต้น ของ Access